กีฬาปีนผา...พาใจให้เข้มแข็ง : บทวิจารณ์โดย ดนุพล พุ่มสลิด: โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์วรรณกรรม ปีที่ 8

กีฬาปีนผา...พาใจให้เข้มแข็ง

            การเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมและการพัฒนาทางเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์สบายขึ้น เนื่องจากมีสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้เรามากมาย แต่ยังน่าแปลกใจที่มีคนบางกลุ่ม รู้สึกหลงใหลกับกิจกรรมที่น่าหวาดเสียว เช่นกิจกรรมการปีนเขา ซึ่งเรื่อง ที่นี่...ไร่เล ชุมชนคนปีนเขา ก็เป็นหนึ่งในสารคดีที่น่าสนใจและชวนให้ผู้อ่านได้ และสิ่งที่ได้รับจากการปีนเขา ซึ่งได้บรรจุเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ทั้งหมด 5 เรื่องย่อยดังนี้ 1. เกินทศวรรษมาแล้วที่กีฬาปีนเขาแพร่มาถึงไร่เล, 2. กีฬาปีนเขา(rock climbling) เกิดขึ้นบนแผ่นดินยุโรปกว่า 100 ปีมาแล้ว, 3. ไร่เล เป็นแหลมแผ่นดินที่มีสภาพเหมือนเกาะอยู่ในอ่าวกระบี่ช่วงบน, 4. ทุกวันนี้ ชื่อของไร่เลเป็นที่รู้สึกของนักปีนผาทั่วโลก และ 5. “ฟังผมเล่าจะได้แต่ทฤษฎีเท่านั้น ถ้าอยากเข้าใจทั้งหมดต้องลองปีเอง” ซึ่งแค่ละเรื่องมีความกลมกลืน และความกลมกล่อมของภาษาในการนำเสนอที่ให้ผู้อ่านรู้สึกใหลลื่นตั้งแต่ต้นจนจบเริ่มจากการกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นสถานที่นิยมการปีนเขาในไร่เล ซึ่งก็ได้นำหลักฐานต่าง ๆ ของการเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ ซึ่งจุดเริ่มต้นนั่นคือนักปีนเขาชาวอเมริกันกลุ่มใหญ่ นำโดย Todd skinner ประกอบกับความรุดหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ ผู้คนต้องออกไปแสวงหาตัวตนและจิตวิญญาณที่สูญหายด้วยกิจกรรรมการปีนเขา ทั้งต่างประเทศและประเทศไทยที่มีไร่เล เป็นโรงเรียนสอนปีนเขาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่ทว่าประเทศไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมดังกล่าวเท่าที่ควร แต่ยังมีคนบางกลุ่มที่อยากลองและเอาชนะความกลัวของตัวเองสักครั้งในชีวิตด้วยการปีนเขา ซึ่งนับว่าเป็นบททดสอบของชีวิตที่อาจทำให้หัวใจเข้มแข็งขึ้นและก้าวข้ามผ่านความกลัวต่าง ๆ ไปได้
 

            กีฬาที่ถูกลืม

            กีฬาปีนเขามีมานับร้อยปีมาแล้ว ด้วยจุดเริ่มต้นของความเจริญทางเทคโนโลยีทำให้ผู้คนค้นหาตัวตนปลดปล่อย หรือต้องการก้าวข้ามบางสิ่งบางอย่างมากยิ่งขึ้น กีฬาปีนเขาจึงตอบโจทย์และเป็นที่นิยมสำหรับชาวยุโรปอย่างมาก หากแต่ในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องยังมีคนบางกลุ่มที่มองว่าเป็นกีฬาที่อันตราย เป็นกีฬาของคนบ้าบิ่นทางอารมณ์อย่างสุดขั้ว ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ผู้มีอำนาจตั้งแต่ระดับบนจึงถึงระดับล่างไม่ให้ความสนใจ และไม่สนับสนุนกีฬาดังกล่าว ดังข้อความที่กล่าวว่า “สิ่งที่น่าเศร้าคือผู้มีอำนาจและมีบทบาทในการบริหารบ้านเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ ไม่เคยสนใจไยดีที่จะสนับสนุนส่งเสริมการกีฬาในแขนงนี้เลย ปีนผาจึงเป็นเกมกีฬาเถื่อนที่หลุดลอยอยู่นอกทำเนียบการกีฬาของประเทศไทย” (หน้า 5) ดังนั้นแล้วเราในฐานะเยาวชนไทยควรที่จะใช้สิ่งที่มีอยู่นั่นคือทัศนียภาพที่งดงามอีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการให้ความสำคัญและปลูกฝังตั้งแต่เยาวชน โดยการฝึกฝนตั้งและให้การสนับสนุน ดังข้อความ “ถ้าการปีนเขาได้รับการส่งเสริมแพร่หลายในระดับประเทศ อย่างน้อยที่สุดก็อาจจะเป็นตัวเลือกให้กับคนที่ไม่เคยสนใจกีฬาชนิดใดเท่าที่มีอยู่เลย...มีแต่การปลูกฝังและฝึกฝนเท่านั้นที่จะเป็นคำตอบ” (หน้า 5) จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่าผู้เขียนให้ความรู้สึกว่าน่าเสียดายที่ไม่คนไทยแม้จะมีทรัพยากรและสถานที่อยู่ในมือแต่กลับไม่สามารถทำประโยชน์และทำให้สถานที่นั้นเป็นสถานที่เศรษฐกิจและดึงดูดเท่าที่ควร
 

            ทลายกำแพงความกลัวด้วยความกล้า

            การปีนเขาเสมือนบททดสอบหนึ่งที่ทำให้เราได้ข้ามพ้นอะไรบางอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่นั่นคือความกลัวแต่หากเราได้ทำแล้วจะรู้สึกว่าเราได้ฝึกจิตใจให้เข้มแข็งขึ้น ด้วยการลงมือทำดังข้อความที่กล่าวว่า “นานมากแล้วที่ผมไม่ต้องต่อสู้กับอะไรเลย ความบริบูรณ์ของชีวิตในเมือง พร้อมจะตอบสนองความต้องการให้เราได้ทุกอย่าง เพียงมีอำนาจซื้อ แต่สังคมบริโภคนิยมเลี้ยงเราให้เติบโตเพียงร่างกาย และที่หัวใจลีบเล็กลงทุกวัน ลงกลับจากผาไดมอนด์วันนั้น เพิ่งรู้สึกว่าหัวใจผมใหญ่ขึ้นมาบ้าง” ข้อความดังกล่าวผู้เขียนต้องการจะสื่อว่าสังคมที่ทุกอย่างสะดวกสบายทำให้เราเติบโตเพียงร่างกาย แต่แท้จริงแล้วการได้ก้าวข้ามผ่านความกลัวบางอย่าง อุปสรรคบางอย่างนั่นนั่นคือการเติบโตทางจิตใจอย่างแท้จริง
 

            การลงมือกระทำหรือสัมผัสเอง จะทำให้เราสามารถอธิบายสิ่งนั้น ๆ ได้อย่างละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง ดังข้อความของไกด์ฝีมือดีของร้านร็อคช็อปที่กล่าวว่า “เวลามีช่างภาพ นักเขียน ลงมาหาข้อมูล เรามักต้องตอบคำถามพวกนี้ ซึ่งบางทีสาระที่แท้จริงของมันไม่อาจถ่ายทอดกันได้ด้วยคำบอกเล่า เพราะฉะนั้นวันนี้พี่ต้องขึ้นปีนผาด้วย สัมผัสด้วยตัวเอง จะได้มีข้อมูลไปเขียนถูก” จากข้อความดังกล่าวผู้วิจารณ์มองว่าบางครั้งหากเราได้ลงมือทำบางสิ่งบางอย่างที่เรากลัวมาก ๆ เราอาจจะต้องเริ่มเปิดใจและยอมรับ และที่สำคัญคือการลงมือทำ ความกลัวเหล่าเหล่านั้นก็อาจจะลดทอนลงไปได้บ้าง
 

            ภาษา การเปรียบ และสำนวน

            ผู้เขียนได้มีการใช้คำที่คมคาย ได้อารมณ์ และให้ภาพประกอบที่ชัดเจน ดังข้อความที่ว่า “ไร่เลอุดมไปด้วยนักปีนเขามีฝีมือ แต่เป็นเหมือนคนชายขอบที่ไม่ได้รับการนับถือ” จะเห็นว่าผู้เขียนมีการใช้คำว่าเหมือนในการเปรียบเทียบ ให้เห็นภาพว่ากีฬาปีนเขาไม่ได้รับความนิยมหรือสนับสนุน และ ข้อความที่กล่าวว่า “ตามหน้าผาต่าง ๆ จึงเห็นแต่ตุ๊กแกผิวขาวผมทองไต่ไปบนผาหินอย่างสำราญ ราวกับว่าบนยอดเขาเป็นโลกที่พวกเขาฝันหา” (หน้า 5) ซึ่งเปรียบตุ๊กแกผิวขาวคือ ฝรั่งที่มีผิวขาว เกาะอยู่กับเชิงผา และมีการใช้สำนวนในการการเขียน เช่น คำว่าชักแม่น้ำทั้งห้า ในข้อความที่กล่าวว่า “ต่อจากนั้นก็ชักแม่น้ำทั้งห้า หว่านล้มด้วยเหตุผลหนักแน่น” (หน้า 8) จากข้อข้างต้นจะเห็นว่าผู้เขียนได้ใช้สำนวนมาช่วยในการอธิบายให้เห็นภาพว่าผู้เขียนถูกชวน หรือถูกยั่วยุให้ลองปีนเขาโดยเพื่อนที่อยากให้ผู้เขียนลองสักครั้งในชีวิตจึงใช้เหตุผลต่าง ๆ ในการชักจูง หรือให้ผู้เขียนคล้อยตามในเชิงว่าต้องสักครั้ง
 

            นอกจากกีฬาปีนเขาจะเป็นกีฬาที่ก้าวข้ามความกลัวของตัวเอง กีฬาปีนเขายังเป็นกีฬาที่ใครหลาย ๆ คนชอบและเล่นกีฬาประเภทนี้จนเป็นชีวิตจิตใจและคนบางกลุ่มมองว่ากีฬาดังกล่าว เป็นกิจกรรมของคนที่บ้าพลัง บ้าบิ่นทำอะไรสุดโต่ง ซึ่งหากมองในแง่เศรษฐกิจแล้วข้าพเจ้าในฐานะผู้วิจารณ์มองว่าเราในฐานะคนไทยควรโปรโมทของดีที่มีอยู่ในไทยอยู่แล้ว ให้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่งเสริมเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และรัฐบาลควรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกีฬาประเภทนี้เพราะเป็นกีฬาที่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เล่นอยู่แล้ว ไม่ควรที่จะชี้นำในทางที่ลบเพียงอย่างเดียว ควรส่งเสริมและสนับสนุนเพราะในอนาคตข้าพเจ้ามองว่าอาจะเป็นกีฬาที่คนทั้งโลกยอมรับและบางครั้งเราอาจจะได้นักกีฬาที่เป็นแชมป์โลกอยู่ในประเทศอีกด้วยดังข้อความที่ว่า “และในตัวเลือกเหล่านั้นอาจมีแชมป์โลกในอนาคตรวมอยู่ด้วย ให้ไร่เลเป็นที่ฝึกฝนตนของคนที่ปรารถนาจค้นหาตัวเอง” (หน้า 5)

 

บทวิจารณ์โดย ดนุพล พุ่มสลิด

โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์วรรณกรรม ปีที่ 8

 

Writer

หนึ่ง หนึ่ง

พ่อแมวอันดับหนึ่งในปฐพี เขียน/คุยได้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องมีสาระ