อาคันตุกะ…บทเรียนที่มีค่าคณานับ : บทวิจารณ์โดย จิราวรรณ รอบคอบ

อาคันตุกะ…บทเรียนที่มีค่าคณานับ

     “อาคันตุกะ” โดย ธีรภาพ โลหิตกุล เป็นงานเขียนประเภทสารคดีเรื่องราวกล่าวถึงมนุษย์ผู้รับบทเป็นอาคันตุกะ และอุทยานแห่งชาติเป็นสถานรักษาพันธุ์ไม้และสัตว์รับบทเป็นเจ้าบ้าน ผู้เขียนเป็น อาคันตุกะของเหล่าสรรพสัตว์และพันธุ์ไม้แห่งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และได้พบกับผลงานศิลปะจากธรรมชาติที่ไม่ได้มีแสดงตามห้างสรรพสินค้าใจกลางเมือง แต่ธรรมชาติเหล่านี้ถูกมนุษย์ละเลยถึง คุณค่าและความสำคัญ เหล่าสัตว์น้อยใหญ่ต่างถูกทำร้ายจากมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็น การสัญจรที่ไม่ระมัดระวังจนชนสัตว์ป่า การให้อาหารสัตว์จากนักท่องเที่ยว หรือกระทั่งการล่าสัตว์ ซึ่งผลของการกระทำเหล่านี้ น้ันล้วนเป็นบทเรียนราคาแพงให้กับมนุษย์ว่า “…ท่านเป็นอาคันตุกะ จึงควรปฏิบัติตนอย่างอาคันตุกะผู้หนึ่งเท่านั้น”

 

     เรื่อง อาคันตุกะเล่าเรื่องราวมนุษย์ที่เสพความสุขจากธรรมชาติแต่ขาดการตระหนักถึงการเป็น อาคันตุกะที่ดี คือการเคารพสิทธิของผู้อื่น และเคารพกฎระเบียบของสถานที่ ผ่านกลวิธีการเล่าเรื่องที่ น่าสนใจผู้เขียนตั้งชื่อเรื่อง “อาคันตุกะ” [ อาคันตุกะ-] น. แขกผู้มาหา (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ,2554) ในที่นี้อาคันตุกะกล่าวถึงผู้เป็นแขกของอุทยานแห่งชาติซึ่งได้กล่าวไว้ในตอนเปิดเรื่องได้อย่างน่าสนใจ และบรรยายการเป็นอาคันตุกะ เรื่องราวการสัญจรของผู้เขียนสร้างสรรค์ผลงานที่แฝงไปด้วยข้อเท็จจริง บทเรียนที่มีคุณค่าคณานับจากธรรมชาติที่ให้ข้อคิดแก่ผู้อ่านในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการตระหนักถึงคุณค่าและปิดท้ายเรื่องราวที่ตราตรึงใจพร้อมกับสำนึกแห่งความเป็นอาคันตุกะ ผ่านภาษาที่ร้อยเรียงเรื่องราวอย่างน่าสนใจ สละสลวยและมีคุณค่าในการจรรโลงสังคม สะเทือนอารมณ์แก่ผู้อ่าน อีกทั้งเป็นอีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนสังคมในการอนุรักษ์ธรรมชาติเหล่านี้ผ่านงานเขียนสารคดีเรื่อง “อาคันตุกะ”

 

     บทเรียนที่มีคุณค่าคณานับจากเรื่องอาคันตุกะ เสนอข้อเท็จจริงอย่างสะเทือนอารมณ์และสะท้อนสังคมที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นธรรมชาติกับมนุษย์และอาคันตุกะผู้เป็นดาบสองคม ดังนี้

 

ธรรมชาติกับมนุษย์

     มนุษย์นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมแล้ว การกระทำของมนุษย์ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ในทำนองเดียวกัน สิ่งแวดล้อมทั้งหลายก็จะมีผลต่อความเป็นอยู่ของชีวิตมนุษย์ เช่นเดียวกัน ในขณะที่มนุษย์เป็นสิ่งแวดล้อมมหัศจรรย์ประเภทหนึ่งที่มีขีดความสามารถเหนือสิ่งแวดล้อม อื่นๆ สามารถนำสิ่งแวดล้อมหนึ่งมาดัดแปลงให้เป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ที่สนองความต้องการในการดำรงชีวิต พฤติกรรมของมนุษย์จึงมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งส่งผลดีและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

 

     เรื่องอาคันตุกะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมในบริบทที่ผู้เขียนเป็นอาคันตุกะ หรือแขกผู้ไปเยือนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เรื่องราวในบางตอน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในเชิงที่ มนุษย์นั้นแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งในบางครั้งก็เป็นการทำลายระบบนิเวศ เช่นเดียวกันเห็นได้จากเนื้อเรื่องตอนหนึ่งว่า

 

      “…กลายเป็นผลงานศิลปะที่หาดูไม่ได้ในงานแสดงตามห้างสรรพสินค้า หรือในแกลเลอรี่หรูใจ กลางเมืองหลวงและยิ่งเป็นไปไม่ได้เลย ที่มหาเศรษฐีนักสะสมงานศิลปะหรือนักธุรกิจชนชั้นกลางคนใด คิดจะหาซื้อไว้ประดับบารมีหรือเพื่อยกระดับสถานะตนเองให้ดูดีในวงสังคม…”

 

     จากตัวอย่างเนื้อเรื่องที่ยกมาข้างต้น เป็นการกล่าวถึงความงดงามของใยแมงมุมดักเหยื่อ ในตอนที่ เช้าที่มีหยดน้ำค้างเกาะและต้องแสงแดด ความงามจากธรรมชาตินี้ไม่ได้มีแสดงในป่าคอนกรีต และผู้สะสมงานศิลปะไม่สามารถมีไว้ในครอบครอง ซึ่งในตอนนี้สะท้อนให้เห็นถึงความโลภของบรรดาผู้มีอิทธิพลที่ แสวงหาสิ่งเหล่านี้ไว้ในครอบครอง ซึ่งสามารถเห็นได้จากข่าวประจำวัน หรือพาดหัวข่าวบนปก หนังสือพิมพ์ที่มีการฆ่าช้างเอางา หรือล่าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เพื่อนำไปประดับยศบารมีทางสังคม หากมองในมุมมองของนักอนุรักษ์หรือเหล่าสัตว์น้อยใหญ่ที่ถูกไล่ล่าแล้วน้ัน สิ่งที่บรรดาผู้มีอิทธิพลสะสมน้ันไม่ได้ ประดับยศบารมีหรือยกระดับสถานะทางสังคม แต่สิ่งเหล่าน้ันเป็นเครื่องหมายของมนุษย์ที่แสวงหา ผลประโยชน์จากธรรมชาติโดยไม่คำนึงผลเสียหายและการขาดสมดุลของธรรมชาตินอกจากนี้ผู้เขียนได้เสนอการตีค่าราคาของชีวิตสัตว์ด้วยเงินจำนวนน้อยนิด สร้างความสะเทือนใจสะเทือนอารมณ์ให้กับผู้อ่าน ในเนื้อเรื่องตอนหนึ่งว่า

 

     “…รถกระบะของพ่อค้าท้องถิ่นที่ใช้เส้นทางถนนที่ตัดผ่านเขาใหญ่ในการขึ้น-ลงระหว่างปากช่อง กับปราจีนบุรีเป็นประจำความคุ้นเคยเส้นทางทำให้เขาขับรถเร็วกระทั่งเบรกไม่อยู่เมื่อมีกวางตัดหน้าค่าปรับตามกฎหมายเพียง ๑,๐๐๐ บาท มันช่างน้อยนิดเหลือเกิน สำหรับชีวติสัตว์ป่าที่สูญเสียไปแม้เพียงตัวเดียว…”

 

     จากเนื้อเรื่องที่ยกมาข้างต้น ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติเป็นในลักษณะของการใช้สอย พื้นที่จากธรรมชาติแต่การใช้สอยประโยชน์นั้นขาดการระมัดระวัง จนเกิดอุบัติเหตุพ่อค้าจ่ายค่าปรับเพียงน้อยนิด แต่เมื่อเทียบกับกวาง สัตว์ป่าได้สูญเสียสิ่งที่ยิ่งใหญ่นั่น คือชีวิตแม้เพียงตัวเดียว เนื้อเรื่องที่ยกมาสนับสนุนประเด็นธรรมชาติกับมนุษย์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในเชิงที่มนุษย์แสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งในบางครั้งก็เป็นการทำลายระบบนิเวศ ค่านิยมของสังคมได้ให้มนุษย์แข่งขันนักในการดำรงอยู่การเสาะแสวงหาเพื่อสนอง ความต้องการที่ขาดการตระหนักและรู้คุณค่า เกิดผลที่ตามมาคือธรรมชาติเสื่อมโทรมลงจนเห็นได้ชัด มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม การกระทำส่งผลธรรมชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นเดียวกันกับธรรมชาติ ที่มีผลต่อมนุษย์ดังนั้นมนุษย์ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการพิทักษ์รักษาธรรมชาติให้สมดุลและคงอยู่ เพื่อความอยู่รอดในการดำรงชีวิต ด้วยสำนึกว่าตนเป็นเพียงอาคันตุกะผู้พึ่งพาธรรมชาติ ไม่ใช่เจ้าของธรรมชาติแต่อย่างใด

 

อาคันตุกะผู้เป็นดาบสองคม

     การท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเป็นสถานที่ที่มนุษย์นิยมไปท่องเที่ยว เพื่อเสพความสุขจากธรรมชาติ หลายครั้งที่การไปเยี่ยมเยือนธรรมชาติของนักท่องเที่ยวเป็นการรุกล้ำธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(Ecotourism) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เน้นการเยี่ยมชมธรรมชาติแบบห่างๆโดยไม่ได้เข้าไปรุกล้ำ พื้นที่ส่วนตัวของสัตว์ป่าและระบบนิเวศในบริเวณโดยรอบ และมีการให้ความรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้องถึงการพัฒนาดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของสถานที่นั้นๆ ให้คงอยู่ต่อไปในระยะยาว (Thaiware,2562) แต่ด้วยความต้องการที่อยากจะใกล้ชิดธรรมชาติของมนุษย์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศจึงไม่เป็นที่นิยมในบางกลุ่ม ดังน้ันอาคันตุกะผู้เยี่ยมเยือนเจ้าบ้านอย่างธรรมชาติจึงเปรียบเสมือนเป็นดาบสองคมที่ทั้งให้คุณ และโทษ เห็นได้จากเนื้อเรื่องตอนหนึ่งว่า “…ที่เห็นบ่อยๆ คืออาการกล้า ๆ กลัว ๆ ของผู้หญิงและเด็กๆในยามหยิบยื่นอาหารให้ลิง พอลิงมารับแล้วก็รีบหดมือ พร้อมกับทิ้งถุงกระดาษหรือพลาสติกห่ออาหารไปเลย บางคนก็โยนอาหารให้ลิงทั้งถุงดื้อ ๆ…”

 

     จากตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น ผู้เขียนกล่าวถึงการให้อาหารแก่ลิง ไม่ว่าจะเป็น กล้วย ส้ม หรือขนม ต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ใกล้ชิดกับสัตว์ละเก็บภาพถ่ายเป็นความทรงจำ แต่ในบางครั้งความกลัวที่เกิดขึ้นทำให้ลืม ที่จะระวังให้อาหารลิงพร้อมกับภาชนะที่ห่ออาหารการกระทำ เช่นนี้เป็นดาบสองคม ในประโยชน์ในด้านที่ ลิงมีอาหารในการดำรงชีวิตจากการหยิบยื่น จากมนุษย์แต่ในขณะเดียวกัน จะส่งผลต่อพฤติกรรมของลิงที่เคยหาอาหารเองจากธรรมชาติ เปลี่ยนเป็นการรอรับอาหารจากมนุษย์ และภาชนะที่ห่ออาหารต่าง ๆ เหล่านั้น ล้วนเป็นพลาสติก เป็นขยะที่ทำลายสิ่งแวดล้อม สัตว์บางตัวไม่สามารถจำแนกประเภทได้ว่า ส่วนใดคือ อาหารส่วนใดคือภาชนะห่ออาหาร ทำให้กินกระดาษหรือพลาสติกเหล่าน้ันด้วย ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารและตายไปในที่สุด ซึ่งกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยครั้งทั้งในป่า หรือสถานที่ท่องเที่ยวในธรรมชาติและเห็นได้จากจุ๋มจิ๋ม กระทิงที่รอดจากการไล่ล่าของนายพราน ด้วยหลวงพ่อขอบิณฑบาตและแลกชีวิตด้วยเงินตรา จากนั้นเจ้าหน้าที่อุทยานได้นำมาเลี้ยงไว้บริเวณอุทยาน อุทาหรณ์เตือนใจความรักใคร่เอ็นดูของนักท่องเที่ยวเกิดขึ้น

 

      “…ครั้นเมื่อสัตวแพทย์ผ่าท้องจุ๋มจิ๋มออกมาดูทุกคนก็ตกตะลึงและเศร้าสลดใจหนักยิ่งขึ้น ในกระเพาะอาหารของเขาเต็มไปด้วยถุงพลาสติก ผ้า เศษแก้วลูกกอล์ฟ เศษโลหะจากเครื่องประดับ และอะไรต่อมิอะไรอกีมากมายที่เป็นกากอาหารซึ่งย่อยไม่ได้จนทำให้กระเพาะอาหารอุดตัน ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองและร่างกายจึงทำให้จุ๋มจิ๋มช็อกตายรวดเร็ว…”

 

     จากเนื้อเรื่องที่ยกมาข้างต้น แสดงให้เห็นถึงดาบสองคมและความละเลยการปฏิบัติตนอย่าง อาคันตุกะผู้หนึ่ง เกิดเป็นบทเรียนอุทาหรณ์สอนใจกระทิงตัวนั้น ไม่ได้ถูกกพรานป่าฆ่าเอาชีวิต ไม่ได้ถูกรถชนอย่างกวางที่น่าสงสารในตัวอย่างที่เคยกล่าวถึงแต่กระทิงตายเพราะความรักของนักท่องเที่ยว แต่หากความรักนั้น เกิดโทษจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์และขาดการตระหนักถึงผลของการกระทำ กระเพาะอาหารที่เต็มไปด้วยขยะต่างๆ จากการอ้างอิงผลชันสูตรของสัตวแพทย์สะท้อนถึงการละเลยความรับผิดที่มีต่อสถานที่ความสะอาด และกฎระเบียบของสถานที่ที่พึงปฏิบัติและมีสัตว์รับผลของการกระทำนั้น แต่ละปีมี สัตว์ป่าที่ต้องปวดท้องทุรนทุรายและตายอย่างทรมานจากขยะที่อยู่ในท้อง สร้างสะเทือนใจสะเทือนอารมณ์ แก่ผู้อ่านให้รู้สึกเศร้าและหดหู่ไปพร้อมกับเรื่องราวที่เสนอผ่านตัวอักษร การกระทำต่าง ๆ ย่อมมีผลเป็นดาบสองคมเสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตระหนักถึงผลที่จะตามมา ยิ่งการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อธรรมชาติแล้วนั้น จะต้องมีการอนุรักษ์ รักษาสมดุลโดยเริ่มจากการปลูกจิตใต้สำนึกให้ตระหนักและรู้คุณค่าสิ่งแวดล้อมที่ร่วมโลกเสมอ “มนุษย์เป็นผู้ทำลายธรรมชาติฉันใด การอนุรักษ์ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่จึงเกิดจากมนุษย์ฉันนั้น”

 

      “อาคันตุกะ” เป็นงานเขียนสารคดีที่นำเสนอข้อเท็จจริงและแง่คิดผ่านบทเรียนที่มีคุณค่าคณานับจากธรรมชาติสะท้อนสังคมในเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างสะเทือนอารมณ์ด้วยภาษาที่สละสลวย อีกทั้งเป็นอีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนสังคมที่สร้างจิตใจสำนึกให้ตระหนักและรักษาสมดุลจากธรรมชาติอย่างที่ผู้เขียนได้ทิ้งท้ายด้วยสำนึกแห่งความเป็นว่า “…ท่านเป็นอาคันตุกะจึงควรปฏิบัติตนอย่างอาคันตุกะ ผู้หนึ่งเท่าน้ัน…”

 

อาคันตุกะ…บทเรียนที่มีค่าคณานับ
บทวิจารณ์โดย จิราวรรณ รอบคอบ
โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์ ปีที่ 6

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ