“The Last Memory” ความทรงจำสุดท้าย : บทวิจารณ์โดย จิดาภา มั่นศรีจันทร์ โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 8

“The Last Memory” ความทรงจำสุดท้าย

            “กะพริบตาครั้งเดียว” เป็นผลงานเรื่องสั้นของ จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ที่ได้รับรางวัลที่ 1 การประกวด บทละครโทรทัศน์สำหรับเยาวชน (ปี 2543) จัดโดยคณะกรรมการประสานงานเยาวชนแห่งชาติ จากเรื่อง “นับหนึ่งตามหาฝัน สองสามนั้นฝันจะมา” ได้รับรางวัลประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมกองทุนหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ ในปี พ.ศ. 2538 และ 2548 รวมทั้งเป็นกรรมการหลายสมัยในการพิจารณารางวัลซีไรต์ รางวัลเรื่องสั้นดีเด่นของสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย เรื่องสั้นรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด เรื่องสั้นรางวัลสุภาว์ เทวกุล และรางวัลประกวดหนังสือทำมือ Indy Book Award ซึ่งภายในเรื่องสะท้อนให้เห็นภาพและความรู้สึก ของตัวละครหลักที่ประสบพบเจอความทรงจำของตน เป็นการเล่าเรื่องราวทั้งสุข เศร้า และสูญเสีย พร้อมทั้งเสนอความแปลกใหม่ของการนำผู้อ่านให้ได้พบเจอเรื่องราวที่ซับซ้อนและสนุกไปในเวลาเดียวกัน

ความทรงจำคือขยะ?

           มีความทรงจำอะไรบ้างที่เราไม่ควรเก็บเอาไว้?

           คำตอบคือทุกอย่างที่ทำให้นึกถึงอดีต ก่อนที่ชีวิตเราจะเป็นแบบนี้ หนังสือ นิตยสาร ภาพถ่าย เพลง หนัง โฆษณา สารคดี รายการทีวี คลิปภาพ เสื้อผ้า ข้าวของต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องราวในอดีต เพราะอย่างนี้เราถึงไม่มีสิทธิ์พูดถึงเรื่องเก่า ๆ (หน้า 4)

            การบันทึกประสบการณ์ต่าง ๆ ของเราผ่านการเรียนรู้ ไม่ว่าเราจะเรียนรู้อะไรมาก็ตาม มักจะถูกบันทึก เข้าความทรงจำของเรา ความทรงจำจะประกอบไปด้วยกระบวนการเก็บ ดึงออกมา และการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ สิ่งเร้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูป เหตุการณ์ ไอเดีย หรือสกิลในการทำอะไรต่าง ๆ หลังจากที่ข้อมูลดั้งเดิมไม่ได้มีอยู่ แล้วตรงหน้าเราแล้ว เช่น ความทรงจำเกี่ยวกับว่าเมื่อวานตอนเย็นเราทานอะไรเป็นอาหารเย็นหรือไม่ได้ทานเลย หรือเราได้จอดรถไว้ที่ไหน ความทรงจำถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเรามากในการดำรงชีวิต ถ้าหากไม่มีกลไกที่ทำให้เราจำสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เราก็จะไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้เลย และนั่นคือความหมายของของคำว่าความทรงจำ

            ความทรงจำนั้นเป็นสิ่งนามธรรมและจับต้องได้ยาก แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่เราจดจำข้อมูลบางอย่างได้ จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในสมอง เหมือนเวลาเราบันทึกข้อมูลลงใน ฮาร์ดดิสก์ แนวคิดดังกล่าวถือกำเนิดขึ้นราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดย ริชาร์ด ซีมอน (Richard Semon) นักสัตววิทยาและชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการชาวเยอรมัน ที่เสนอว่าสิ่งกระตุ้นจากภายนอกที่ทำให้เกิดความทรงจำนั้นจะไปสร้างร่องรอยการเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้เกิดขึ้นภายในสมอง เขาเรียกร่องรอยนั้นว่า ‘เอ็นแกรม’ (Engram)

            ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าความทรงจำไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในสมองส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่กระจายไปทั่วทั้งสมอง ซึ่งความทรงจำต่างประเภทกันก็จะถูกเก็บไว้ในสมองคนละส่วนกัน เช่น สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) จะเกี่ยวข้องกับการเรียกใช้ความทรงจำเก่า ๆ นั้นอยู่ในบริเวณที่ลึกลงไปจากสมองส่วนนอก ซึ่งคาร์ลไม่ได้สำรวจมัน

            นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่สมองได้รับจะไปกระตุ้นเซลล์ประสาทให้ส่งสัญญาณประสาทไป มาหาสู่กัน ส่งผลให้เซลล์ประสาทกลุ่มนั้นเปลี่ยนแปลง โดยไปสร้างเส้นใยประสาทใหม่ ๆ เชื่อมต่อกัน รวมถึง ทำให้วิถีประสาทเดิมที่มีอยู่แล้วประสานเชื่อมต่อกันแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

            การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่ว่ามานี้คือเอ็นแกรมที่เกิดขึ้นในสมอง การระลึกถึงความทรงจำเก่า ๆ ก็คือปรากฏการณ์ที่เซลล์ประสาทที่เกี่ยวข้องกับเอ็นแกรมนั้น ๆ ส่งกระแสประสาทพร้อมกันอีกครั้งนั่นเอง

            …ใครอยากได้อะไรจะส่งรหัสมาให้ผม รหัสตัวเลขซึ่งถอดออกมาเป็นข้อความได้ หลังรู้ความต้องการ ผมอาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี หรือหลาย ๆ ปี กว่าจะหาของเหล่านั้นเจอ ซึ่งทุกคนรับรู้และ พร้อมที่จะรอ

          หาของได้แล้วก็ต้องคิดต่อว่าจะเอาออกมาจากห้องทำลายได้ยังไง ห้องพวกนั้นมีอยู่เป็นร้อย…

          หนทางเอาของออกมาคงเป็นทางตัน ถ้าเพื่อน ๆ ที่ทำงานด้วยกันไม่รู้เห็นเป็นใจ เราทำกันเป็นขบวนการ ด้วยความระมัดระวังอย่างที่สุด…

          ความยากลำดับถัดมาอยู่ตรงการส่งของ ตรงนี้ผมใช้บริการพวกหนูที่หลบซ่อนไปตามซอกรูต่าง ๆ หนู ตัวที่สาคัญที่สุดคือพนักงานส่งของ พวกเขามีหน้าที่นำอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า ของใช้ต่าง ๆ รวมทั้งของที่ต้อง ซ่อมแซมมาส่งให้กับทุกคน… (หน้า 6)

            ที่สอดแทรกไปด้วยความทรงจำและความรู้สึกของตัวละคร ความรู้เกี่ยวกับระบบประสาทของร่างกายมนุษย์ผ่านการอุปมาเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจโดยง่ายอย่าง การถอดรหัสเลขคือกระบวนการการเข้ารหัส (encoding) ซึ่งคือการแปลสิ่งเร้าเป็นการตอบสนองของเซลล์ ประสาท หรือพนักงานส่งของที่ทาหน้าที่ส่งของต่าง ๆ ให้กับทุกคน ซึ่งเปรียบได้กับไซแนปส์ หรือจุดประสาน ประสาท ที่มีหน้าที่ขยายสัญญาณ (amplifying action) โดยมีการรวมกัน (summation) หรือกระจายกระแส ประสาทออก ทำให้คำสั่งนั้นแผ่กระจายกว้างขวางมากขึ้น และเป็นเป็นศูนย์ประสานงาน (integrative action)

            ในปี 1968 Atkin and Shiffrin ได้เสนอโมเดลว่าหน่วยความจำของเรานั้นมันมีหลายแบบ โดยเขาได้แบ่งความทรงจำเป็น 3 แบบ ได้แก่ sensory memory, short-term memory, และ long-term memory เริ่มมาจากการที่เรารับรู้ถึงอะไรบางอย่างก่อน เมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามาหรือมี input เข้ามา อันดับแรกสิ่งเร้านั้นจะเข้าไปอยู่ใน sensory memory ของเรา sensory memory คือความทรงจำที่เกี่ยวกับข้อมูลของสิ่งที่เรารับรู้มา แต่ว่า sensory memory จะ อยู่กับเราสั้นมาก ๆ เพียงแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ในวันปีใหม่ที่มีการจุดพลุกัน พอเขาจุดพลุ ทำให้ที่ตรงนั้นมันสว่าง ทำให้เราสามารถมองเห็นหน้าคนข้าง ๆ เราได้ และเมื่อพลุค่อย ๆ ดับลง ในความมืดนั้น เรายังจะสามารถมองเห็นหน้าคนข้าง ๆ เราได้อยู่อีกพักหนึ่ง เป็นเพราะ sensory memory ของเราทำให้เราสามารถจำจดใบหน้าคนข้าง ๆ ได้อยู่ หลังจากนั้นแล้วหากความทรงจำนี้เป็นความทรงจำที่เราสนใจจดจ่ออยู่กับมัน ความทรงจำนี้ก็จะถูกส่งไปยัง short term memory หรือความทรงจำระยะสั้น ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถจำใบหน้าของคนที่อยู่ข้าง ๆ เราได้นานว่าเดิมเล็กน้อย เพราะความทรงจำระยะสั้นจะสามารถอยู่กับเราได้นานกว่า sensory memory เราจะสามารถประมวลข้อมูลได้ประมาณ 5-7 อย่างพร้อม ๆ กันในเวลา 15-20 วินาที และหากเราได้มีการทบทวนข้อมูลที่เราต้องการที่จะจำซ้ำ ๆ ข้อมูลนั้นก็จะถูกส่งไปยัง long term memory หรือความทรงจำระยะยาว ที่จะเก็บความทรงจำเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ ซึ่งความทรงจำพวกนี้จะอยู่เป็นปี ๆ จนถึง 10-20 ปีก็ยังได้

           จากข้อมูลอ้างอิงข้างต้นที่มีการสอดแทรกความความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับความทรงจำของมนุษย์ แล้วยังจะเห็นได้ถึงการสะท้อนสภาพสังคมปัจจุบันที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและรวมถึงเอไอ (AI : Artificial Intelligence) ที่เข้ามาควบคุมและเปลี่ยนแปลงชีวิตในแต่ละวันของมนุษย์นั้นให้พบเจอกันด้วยสื่อสังคมออนไลน์มากยิ่งขึ้น และการพบเจอต่อหน้าน้อยลง ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีมนุษย์บางส่วนคิดว่าตัวเรานั้นเป็นผู้ควบคุม แต่ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีเหล่านี้ต่างหากที่เป็นคนควบคุมตัวเราเอง

            นอกจากการสะท้อนสภาพสังคมเรื่องการพัฒนาของเทคโนโลยีแล้ว ภายในเรื่องยังคงสะท้อนให้เห็นถึง เรื่องของความรัก ความเป็นครอบครัว ซึ่งมีการจินตนาการที่ทั้งแตกต่างและคล้ายคลึงกับสังคมปัจจุบันที่ หลากหลายคนเลือกที่จะหาคนรักผ่านช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น เช่น ผ่านทางแอปพลิเคชันหาคู่รัก ผ่านทาง ช่องทางการเรียน การทำงานร่วมกัน หรือผ่านช่องทางอื่น ๆ พร้อมทั้งได้สื่อถึงคุณค่าของความสำคัญระหว่าง ความรักและหน้าที่การงาน ผ่านการกระทำของตัวละครฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ที่ทั้งสองฝ่ายต่างเลือกแตกต่างกัน ฝ่ายหนึ่งเลือกที่จะมอบความรัก ความไว้เนื้อเชื่อใจให้อีกฝ่าย แต่อีกฝ่ายกลับเลือกหน้าที่การงาน เพียงเพราะว่าสิ่งที่ตัวละครตัวนี้กำลังกระทำนั้น มันคือสิ่งที่เป็นระเบียบของทางสังคมหรือข้อบังคับเพื่อความถูกต้องเพื่อการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ แต่หากมองในมุมของการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งเป็นเรื่องสาคัญอย่างการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นภายใต้การระบาดของไวรัส การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของกลุ่มคนที่เรียกว่ารัฐบาล มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ และสะท้อนให้เห็นว่าความรักครั้งนี้มันเป็นเพียงความรักที่ฝ่ายหนึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเส้นทางของการก้าวเดินต่อไปสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงานของอีกฝ่าย ซึ่งในชีวิตจริงอาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น เพราะความรักออนไลน์นั้นล้วนขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่มั่นคงของทั้งสองฝ่ายว่าจะไปต่อหรือพอแค่นี้ ดังนั้นเรื่องสั้น “กะพริบตาครั้งเดียว” ที่มีเนื้อหาสะท้อนสังคมถึงการปฏิบัติตัวในเรื่องต่าง ๆ ในช่วงการระบาดของไวรัสนั้น เป็นการจินตนาการถึงความเป็นไปได้ในอนาคตที่อาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นจินตนาการที่มีความแปลกใหม่และน่าสนใจที่อาจนำพาผู้อ่านได้เข้ามาพบเจอเรื่องราวของเรื่องสั้นเรื่องนี้

          “ใครมิอาจหยุดข้าไว้ไม่ให้ฝัน”

          “หนึ่ง” เสียงของผมดังขึ้น

          “พร้อมกันนั้นมิอาจพรากทรงจำข้า”

          “สอง”

          “มิอาจพันธนาการกาลเวลา”

          “สาม”

          “และมิอาจ…ทายท้าต่อหัวใจ” ผมยิ้ม มีความสุขที่สุดในชีวิต. (หน้า 14)

          “จำก็รู้สึก ลืมแล้วก็ยังรู้สึก ยึดโยงกับความทรงจำเหมือนคนบ้าบนฝ่าเท้าของเทพเจ้า แล้วสุดท้ายมันก็ สลายหายไป ทั้งตัวตน ทั้งความฝัน ทั้งการมีอยู่” นี่คือข้อความแรกจากความทรงจำที่เกิดจากการไล่เรียงอ่านเรื่องสั้นเรื่องนี้ ซึ่งประโยคข้างต้นนั้นมาจากโปรเจกต์ของกลุ่มคน Gen Z ในนาม Deadline Always Exists ที่รวมตัวกันสร้างเอเจนซี่โฆษณาและสื่อ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการต่อยอดผลงานศิลปนิพนธ์ของหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง จึงเป็นเหมือนตัวแทนการทำงานที่สะท้อนภาพของคน Gen Z โดยคน Gen Z ที่แท้จริง แต่หากว่าสิ่งของเหล่านั้นที่เรียกว่า ‘ความทรงจำ’ เป็นสิ่งของเพียงไม่กี่สิ่งที่อาจทำให้มนุษย์ได้ระลึกนึกถึงความทรงจำที่หลากหลายความรู้สึกในอดีต อาจเป็นความรู้สึกแห่งความสุข ความรู้สึกแห่งความเศร้า หรือความรู้สึกแห่งความโหยหา ความรู้สึกเหล่านั้นอาจนำพาไปถึงภาพในอดีต ในความทรงจำ ที่เรายังคงยึดติดกับสิ่งเหล่านั้นตลอดไปไม่อาจลบเลือน

            เรื่องสั้น “กะพริบตาครั้งเดียว” โดย จรูญพร ปรปักษ์ประลัย จึงนับว่าเป็นมากกว่าเรื่องสั้นเพื่ออ่านข้ามเวลา หรือเพื่อการศึกษาในเรื่องของความสละสลวยของภาษาในการแต่ง แต่ยังสอดแทรกถึงความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์และด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับความทรงจำของมนุษย์ แต่ในเรื่องของความทรงจำใครอื่นจะคิดเห็น อย่างไรนั้นก็แล้วแต่มุมมองและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ดิฉันในฐานะที่เป็นผู้อ่าน สู่การเป็นผู้เขียนบท วิจารณ์ชิ้นนี้นั้นเข้าใจว่าความทรงจำนั้น “เมื่อไม่เห็นก็ไม่โหยหา อดีตไม่มีค่าเท่าอนาคต” (หน้า 4) เช่นเดียวกับคำขวัญขององค์กรความทรงจำโลก

 

อ้างอิง:

จรูญพร ปรปักษ์ประลัย. (2564), กะพริบตาครั้งเดียว, ช่างเขียนพยัญชนะ: นครนายก.

พจ ธรรมพีร, (2565), ความทรงจำคืออะไร?,สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2565, จาก https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/memory

อาจวรงค์ จันทมาศ, (2561). ความทรงจำคืออะไร? ไขความลับการทำงานของสมอง ถอดรหัสความทรงจำของมนุษย์, สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2565,จาก https://thestandard.co/science-find-remembrance/

 

“The Last Memory” ความทรงจำสุดท้าย
บทวิจารณ์เรื่องสั้น "กะพริบตาครั้งเดียว"
โดย จิดาภา มั่นศรีจันทร์ โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 8

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ