ในเหมืองแร่ไม่มีมนุษยธรรม : บทวิจารณ์โดย ธนกร ฤทธิ์จำนงค์

ในเหมืองแร่ไม่มีมนุษยธรรม

       เรื่องสั้นเรื่อง ในเหมืองแร่มีมนุษยธรรม ในหนังสือ เหมืองแร่ ฉบับสมบูรณ์ เขียนโดย อาจิณต์ ปัญจพรรค์ เป็นการเขียนจากเรื่องราวประสบการณ์ส่วนตัว ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตของคุณอาจินต์โดยตรง เริ่มจากการถูก‘รีไทร์’ จากการเป็นนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้คุณพ่อของคุณอาจินต์ คือ ขุนปัญจพรรค พิบูล (พิบูล ปัญจพรรค์) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ไม่พอใจ จนบังคับคุณอาจิณต์ ให้ไปทำงานในถิ่นทุรกันดาร ในเขตจังหวัดพังงา ณ เหมืองแร่กระโสม ประจวบกับเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณอาจินต์จึงได้ไปอยู่ในเหมือง แร่ จนทำให้ซึมซับเรื่องราวการใช้ชีวิต กลายมาเป็นเรื่องสั้นจากประสบการณ์ชีวิตในเหมืองแร่ 4 ปี โดยที่ไม่ได้บันทึก นำเสนอวิถีชีวิต และสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจที่แตกต่างของความเท่าเทียมกันในสังคมที่ไม่สามารถเลือก แม้จะเขียนชื่อเรื่องสั้นนี้ว่า “ในเหมืองแร่มีมนุษยธรรม” ก็ตาม

 

อำนาจในเหมืองแร่มีเพียงแค่ระบบชนชั้นทางการศึกษา

       เรื่องราวที่เกิดขึ้นในเรื่องสั้น “ในเหมืองแร่มีมนุษยธรรม” เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของชุดความคิดความคิดหนึ่ง ที่เห็นได้จากประโยคที่ว่า “วันอาทิตย์ในเหมืองแร่ ไม่ใช่วันอาทิตย์ของข้าราชการ ห้างร้าน ในเมือง มันไม่ใช่วันหยุด แต่มันเป็นวันเปลี่ยนกะ คนที่เคยอยู่กะกลางคืนดึกอดนอนมา 7 วัน ก็จะได้กระโดดมาเช้า ส่วนคนที่อยู่กะเช้าก็ไปผลัดเปลี่ยน” ชีวิตที่มีความแตกต่างและความเหลื่อมล้ำทางสังคม กลายเป็นระบบชนชั้นที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานการศึกษา ชี้คุณค่าอาชีพกรรมกรซึ่งทำงานหักโหมเกินกว่าเวลาปกติที่พึงกระทำ ซึ่งปกติชีวิต ของข้าราชการหรือห้างร้าน ทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน พื้นฐานความคิดของมนุษย์ ย่อมต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้กับ ตนเอง ในโลกนี้ไม่มีมนุษย์คนไหน ต้องการทำงานหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานอดหลับอดนอนถึง 7 วัน ใครกันจะสามารถทำได้ หากไม่ใช่กรรมกรผู้ไม่มีปากมีเสียง ถูกกดขี่ ริดรอนความเป็นมนุษย์ “ในเหมืองแร่อันมีมนุษยธรรม” หยาดเหงื่อที่เปียกปอนแลกได้เพียงแค่เม็ดเงินจำนวนน้อยเพื่อพอประทังชีวิต ความเหลื่อมล้ำ ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ที่แตกต่างกันระหว่างสังคม บนพื้นฐานของผู้มีความรู้จึงใช้ความรู้แลกเม็ดเงินเพื่อ ประทังชีวิต และบนพื้นฐานของผู้ไม่มีความรู้จึงใช้แรงกายเพื่อประทังชีวิต เห็นได้จากประโยคที่ว่า “มันเป็นวันบรม สุขผูกขาด เฉพาะพวกทํางานในออฟฟิศเท่านั้น คนงานกลางแจ้ง กองถางป่า ซ่อมถนน ขนแร่ ล้างแร่ ก็ยังต้องคลี่ สายป่านแห่งชีวิตของเราเรื่อยไปไม่มีการหยุด เพื่อผูกปุ่มปมสายป่านนั้น ให้เป็นที่ระลึกว่าเขาได้รับใช้บริษัท รับใช้ ครอบครัว และรับใช้เวรกรรมของตนเองมาจนครบ 7 วันอีก” ผูกขาดความสบายเฉพาะผู้มีอำนาจ เช่น ตัวละคร หลักมีบทบาทเป็นนายช่างแผนที่มีอำนาจในสังคมเหมืองแร่ นั่งจิบกาแฟ พักผ่อน ซึ่งอีกมุมหนึ่งกรรมกรกำลังตรา กกรำทำงานอดหลับอดนอนอย่างไร้ความปรานี แล้วอะไรล่ะคือสิ่งที่กีดกั้นระหว่างความสะดวกสบายหา กไม่ใช่ โอกาสทางการศึกษาที่เป็นตัวชี้ชะตากรรม แล้วใครล่ะที่เป็นคนขีดชะตากรรมของกรรมกรให้ได้รับกา รศึกษา หรือเวรกรรมที่เป็นตัวเปิดโอกาสนั้น และก็ต้องทนทุกข์กับเวรกรรมที่ตัวเองไม่ได้เลือก นี่หรือ “ในเหมืองแร่ที่มี มนุษยธรรม” ภาพของความเหลื่อมล้ำเกลื่อนอยู่ในเรื่องสั้นแห่งนี้ ความเป็นธรรมของมนุษย์อยู่ที่ไหนกัน หรือเป็น ข้าทาสของความรู้ผู้มีอำนาจในการชี้ชะตา บทบาททางสังคมแห่งผู้มีความรู้ มันคงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้นายฝรั่ง รับผู้ช่วยช่างใหญ่ ฝ่ายพลังพลังงานเข้ามาทำงาน ถึงแม้ว่าจะผิดข้อบังคับสมาคมเหมืองชาวยุโรป เพราะเขามีความรู้และประสบการณ์มาก่อน หากเอากรรมกรชาวรากหญ้ามาทำงานไฟฟ้า แล้วจะเอาความรู้ในล่ะมาใช้ในการทำงาน ความเหลื่อมล้ำนี้เกิดจากรัฐที่การวางรากฐานทางการศึกษาไม่กระจายตัวทั่วทุกพื้นที่ และทุกหย่อมย่านของประเทศในสมัยนั้น ให้ทุกคนได้มีโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม มีแต่เพียงคนเมืองหรือคนกรุงที่มีความรู้เท่านั้น หาได้ยากที่จะมีคนชนทบมีความรู้เทียบเท่ากับคนกรุง เพราะความพร้อมและปัจจัยความเป็นอยู่โอกาส การศึกษาจึงอยู่ห่างคนชนบท การเปิดโอกาสทางการศึกษา จึงเป็นการให้คุณค่าทางมนุษยธรรมที่แท้จริง หากเขาไม่รับโอกาสนั้นไว้ ก็ถือได้ว่าเขายอมรับอาชีพแห่งความลำบากและเป็นเวรกรรมที่เกิดจากการกระทำของเขาเอง

 

อำนาจในเหมืองแร่ในระบบความเป็นหญิงที่แฝงอำนาจเหนือชาย

      ความเป็นหญิงที่เหนือความเป็นชาย ผ่านอำนาจของสตรีในมุมความคิดของความเป็นชายนั้น ผู้หญิงเป็นผู้ ที่อ่อนแอกว่า ต้องได้รับการดูแล ให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้หญิง หรืออาจให้ผู้หญิงเป็นผู้ ตัดสินใจ คิดหรือกระทำการใด ๆ มากกว่าสามีของตน กระทั่งเป็นผู้ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพึงแต่สามีอยู่ฝ่ายเดียว จาก ประโยคในเรื่องที่ว่า “คำถาม -เมื่อท่านไม่มีอาชีพ ทำไมท่านถึงมีเมียได้ คำตอบ -(อึกอัก) ฉันอาศัยเมียกิน” คำพูด ที่หลุดจากปากของผู้ชายคนหนึ่งว่าตัวเองต้องพึ่งพาผู้หญิงอยู่ แสดงให้เห็นถึงผู้หญิงหางานทำได้ และมีอำนาจเลี้ยง ผู้ชายได้ ไม่ต่างจากผู้ชายเลี้ยงผู้หญิง ถือเป็นอำนาจอย่างหญิงที่บางครั้งผู้ชายก็ต้องอยู่ภายใต้อำนาจนองผู้หญิงใน บางโอกาส แม้ในเรื่องจะอาจมีข้อสงสัยที่ว่า ผู้หญิงคนนี้เขาทำงานอะไร จากประโยคที่ว่า “คำถาม -เมียท่าน ทำงานอะไร คำตอบ -…..(ไม่ตอบ)...... ” ข้อสงสัยให้ฉุกคิดได้ว่า มนุษย์ย่อมปกปิดจุดที่ผิดพลาดของตัวเองไว้ อาชีพ ที่ไม่สามารถบอกได้ มีเพียงประโยคหนึ่งที่สามารถอนุมานได้ว่าเขาทำงานในลักษณะแบบไหน จากประโยคที่ว่า “ผู้ชายคนนี้หน้าตาผิวพรรณงามราวกับผู้ดี เสื้อผ้าเก่าปอน ๆ มือหิ้วห่อผ้าท่าทางเอาผ้าปูที่นอนทับพบแล้วห่อ เสื้อผ้าบรรจุไว้ข้างใน หญิงสาวที่มากับเขาแต่งกายฉูดฉาด หน้าซน” แตกต่างระหว่างการใส่เสื้อผ้า และการ แต่งตัว ความเป็นผู้หญิงเปรี้ยวอาจจะเหมาะกับงานประเภทบริการ แต่ไม่สามารถทำต่อเพราะเขาท้องอยู่ เหตุผล อีกประการหนึ่งที่นายฝรั่งรับชายคนนี้เข้าทำงาน โดยให้เหตุผลว่า “ชายผู้นี้เป็นชายที่มีเมียตามกฎหมาย และเมีย กำลังมีลูกที่เขาต้องหาเลี้ยง” เพราะความเป็นหญิง ผู้มีความเป็นความชายจึงต้องดูแลเอาใจใส่ เป็นอำนาจที่แฝงอยู่ ในสังคมที่ต้องรับหน้าที่ให้ความเป็นชายดูแล

 

บทวิจารณ์ ในเหมืองแร่ไม่มีมนุษยธรรม
บทวิจารณ์โดย ธนกร ฤทธิ์จำนงค์

โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 6  

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ