ความไม่สมบูรณ์แบบ ทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ : บทวิจารณ์โดย จิตวัฒน์ ตัณฑะตะนัย

ความไม่สมบูรณ์แบบ ทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ

      ความสมบูรณ์แบบ เป็นสิ่งที่มนุษย์เราเฝ้าฝันหา ไม่ว่าจะเป็นความสมบูรณ์แบบในเรื่องการเรียน หน้าที่การงาน หรือความรัก ทั้งที่ในความเป็นจริงเราต่างรู้กนั ดีว่าความสมบูรณ์แบบแบบนั้นไม่มีอยู่จริง ทุกคนต่างก็ต้องดำเนินชีวิตของตนเองแบบขาด ๆ เกิน ๆ ในแบบที่เราไม่พอใจ ในแบบที่เราไม่ต้องการ ให้พอไปรอดวันวันหนึ่ง แต่ไม่มีใครเคยคิดจะลองมองในมุมที่ต่างออกไป ว่าความไม่สมบูรณ์แบบของเรา ก็อาจทำให้เราเป็นคนที่สมบูรณ์ในแบบฉบับของเราเอง หรือบางทีความไม่สมบูรณ์แบบของเราก็อาจจะไปเติมเต็มชีวิตของใครสักคนหนึ่งให้สมบูรณ์ และสามารถดำเนินต่อไปได้
 

      “ ในเหมืองแร่มีมนุษยธรรม ” เป็นผลงานการประพันธ์ของคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ เรื่องแรก ๆ ที่เป็นที่รู้จักในแง่ของการนำเสนอประเด็นด้านมนุษยธรรม ด้วยการเล่าเรื่องราวของตัวละครต่าง ๆ พร้อมกับเป็นผู้อยู่ ร่วมในเหตุการณ์นั้นโดยเนื้อเรื่องกล่าวถึงคู่สามีภรรยาคู่หนึ่ง ที่สามีได้มาขอมาสมัครเข้าทำงานในเหมืองแร่ด้วย เหตุผลจำเป็นบางอย่าง และภรรยาที่กำลังท้องอยู่ ประกอบกับเหตุการณ์วุ่นวายต่าง ๆ จนในท้ายที่สุดสามีคนนั้น ก็ได้งานทำที่เหมืองแร่นั้น
 

      เมื่อนักวิจารณ์หลายท่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้ก็ต่างวิพากย์วิจารณ์ในประเด็นที่แตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นด้านมนุษยธรรมที่ผู้เขียนเรื่องนี้ต้องการจะสื่อให้เห็นอย่างชัดเจน รวมไปถึงประเด็นอื่น ๆ เช่น อำนาจนิยมในสังคม การตกเป็นอาณานิคมในทางปฏิบัติความเหลื่อมล้ำทางสังคมในแง่ของตำแหน่งการทำงาน ถิ่นกำเนิดหรือภาษา ความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย หรือประเด็นต่าง ๆ นอกเหนือจากนี้แต่ในบทวิจารณ์นั้น ผู้วิจารณ์ได้มองเห็นความไม่สมบูรณ์แบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับสิ่งต่าง ๆ ภายในเรื่องแต่กลับเกื้อกูลทำให้ สิ่งต่าง ๆ ดูสมบูรณ์และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ซึ่งผู้วิจารณ์จะอธิบายดังต่อไปนี้
 

      เรื่องราวเริ่มด้วยการเกริ่นนำว่า เป็นวันอาทิตย์และกล่าวถึง “ปฏิทิน” เล่มหนึ่งซึ่งมีลักษณะเหี่ยวย่นและ ริมเริ่มโค้งงอเหมือนใบไม้แห้ง จากจุดนี้เองที่ผู้วิจารณ์มองว่า จากปฏิทินเล่มธรรมดาที่ควรจะมีลักษณะปกติ เหมือนปฏิทินทั่ว ๆ ไป แต่กลับมีสภาพชำรุดไม่น่าดูสะท้อนเห็นถึงความไม่สมบูรณ์แบบของมัน แต่กับคนที่ไม่รู้วันเวลา ปฏิทินเก่า ๆ เน่า ๆ เล่มนี้กลับเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งนัก เพราะช่วยเติมเต็มทำให้คน ๆ นั้น รู้จักวันเวลาชีวิตของพวกเขา นี่คือประเด็นแรกที่ผู้วิจารณ์มองเห็น
 

      “เหมืองแร่” ที่ดูเป็นสถานที่ ๆ ไม่น่าทำงาน ไม่น่าอยู่อาศัย ดูยากลำบากและคงไม่มีใครอยากมา แต่หาก ลองพิจารณาดูดีๆ แล้ว เหมืองแร่ที่ดูไม่สมบูรณ์แบบนี้ก็ทำให้คนท้องที่ได้มีอาชีพทำ ถึงแม้อาจจะเป็นอาชีพที่ ไม่ดีมากก็ตาม แต่ถ้าคิดกลับกันคนท้องที่ ที่เป็นชาวบ้านธรรมดา ไม่ได้มีการศึกษา และคนเมืองส่วนใหญ่ก็ตีตราว่าเป็นคนที่ไม่มีประโยชน์ของสังคม ก็ได้ช่วยทำงานในเหมืองแห่งนี้สรุปคือทั้งเหมืองและคนท้องที่ต่างก็ไม่ได้ดีพร้อมทั้งคู่ แต่กลับช่วยเกื้อกูลกันให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้นี่คือสิ่งที่ผู้วิจารณ์มองเห็นเป็นประเด็นที่สอง
 

     “นายฝรั่ง” คนที่มีตำแหน่งใหญ่ที่สุดในเหมืองแร่แห่งนี้คนที่เป็นคนคุมคนงานทั้งหมดภายในเมืองแร่ คนที่มีอำนาจมากที่สุด คนที่กรรมกรภายในเมืองแร่ หรือแม้แต่นายช่างใหญ่ผู้คุมสายงานต่าง ๆ ภายในเหมือง มองว่ามีชีวิตที่สบายที่สุด แต่ผู้วิจารณ์มองว่า นายฝรั่งที่มาจากประเทศตะวันตกที่เจริญแล้ว น่าจะมีชีวิตที่ดีกว่าคนชนบทในประเทศไทยอย่างเรา น่าจะมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ มีอาชีพที่ดีกว่านี้ อาชีพที่ไม่ต้องมาลำบากตรากตรำ ไม่ต้องเลิกงานแล้วไปนอนบังกะโลบนภูเขา พอถึงเวลาน้ำป่าไหลหลากก็ต้องรีบวิ่งแจออกมาจากบังกะโล มาคุมคนงานแก้ปัญหาอีกรอบ หากเทียบกันแล้วความมลำบากที่นายฝรั่งพบเจอก็ไม่ต่างจากกรรมกรเท่าไรนัก นี่จึงสะท้อนให้เห็นว่านายฝรั่งก็ไม่ได้เป็นคนที่สมบูรณ์แบบอะไรขนาดนั้น แต่ในท้ายที่สุดทั้งนายฝรั่ง และกรรมกรคนท้องถิ่นก็ต่างช่วยกันทำงานให้เหมืองแร่เช่นเดียวกัน นี่เป็นประเด็นถัดมาที่ผู้วิจารณ์มองเห็น
 

     “คู่สามีภรรยา” ผู้เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องนี้หากพูดถึงสามีผู้ชายที่ดูลักษณะเหมือนผู้ดีมีการศึกษามาจากกรุงเทพฯ น่าจะมีงานที่ดีทำในกรุงเทพฯ แต่ทำไมกลับต้องไปทำงานที่เหมืองแถวหัวเมืองเหนือ แล้วสุดท้ายก็ต้องถูกไล่ออก เพราะเป็นแกนนำการประท้วงหยุดงาน จนต้องมาสมัครงานเป็นกรรมกรที่เหมืองแห่งนี้ พร้อมกับภรรยาที่กำลังท้องลูกอยู่ สะท้อนให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์แบบของหนุ่มกรุงเทพฯ คนนี้ที่ชีวิตก็ติดขัด จนสุดท้ายต้องมาสมัครงานที่เหมืองแร่ที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ๆ นี้ และอีกหนึ่งตัวละครที่ผู้วิจารณ์มองเห็นก็คือ“ลูก”ของสามีภรรยาคู่นี้ที่กำลังอยู่ในท้อง เด็กที่เกิดมาผิดเวลา เด็กที่เกิดมาในเวลาที่คู่สามีภรรยากำลังคับขัน แสดงให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์แบบ แต่กลับกันมันทำให้สามีที่เคยคิดแต่จะเกาะภรรยากิน เริ่มที่จะหางานใหม่เพื่อเลี้ยงดูครอบครัวของตัวเอง และเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้นี่เป็นประเด็นหนึ่งที่ผู้วิจารณ์มองเห็น
 

      “ข้าพเจ้า (คุณอาจินต์)” หนุ่มกรุงเทพฯ ผู้เป็นถึงลูกของผู้ว่าราชการจังหวัด มีการศึกษาดีและน่าจะมีชีวิต และหน้าที่การงานที่สมบูรณ์แบบ แต่ทำไมกลับเลือกที่จะมาทำงานอยู่ที่เหมืองแห่งนี้เป็นเวลาถึง 1 ปีต้องมาเจอ ผู้คนที่มีชีวิตไม่ได้สมบูรณ์แบบ เจอเรื่องราวหรือเหตุการณ์วุ่นวายต่าง ๆ มากมายที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงตัว คุณอาจินต์เองที่ไม่ได้มีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ได้มาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนและสถานที่ ๆ ไม่สมบูรณ์แบบ แต่สุดท้ายมันก็พิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาทั้งหมดก็ช่วยเหลือเกื้อกูล ทำหน้าที่ของตนเองให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีนี่เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ผู้วิจารณ์มองเห็น
 

      หากกล่าวโดยสรุปตามทัศนะของผู้วิจารณ์จากเรื่อง “ในเหมืองแร่มีมนุษยธรรม” ผู้วิจารณ์มองเห็นในเรื่องของความไม่สมบูรณ์แบบของสิ่งต่าง ๆ ภายในเรื่อง เช่น ความไม่สมบูรณ์แบบของสิ่งของ เช่น ปฏิทิน ความไม่สมบูรณ์แบบของตัวบุคคล เช่น นายฝรั่งคู่สามีภรรยา หรือแม้แต่ตัวคุณอาจินต์ความไม่สมบูรณ์ แบบของสถานที่ เช่น เหมืองแร่ เป็นต้น แต่ในความไม่สมบูรณ์แบบที่หลายคนมองว่าไม่ดีนั้น ผู้วิจารณ์มีความเห็นว่าความไม่สมบูรณ์แบบภายในเรื่องหากมองอีกมุมนึง กลับมีแง่ดีให้คิดว่าความไม่สมบูรณ์แบบของบางสิ่งบางอย่างก็อาจจะไปช่วยเกื้อกูลหรือสนับสนุนบางสิ่งบางอย่างให้ดำเนินต่อไปได้หรือพัฒนาไปในทางที่ดีดังตัวอย่างที่ผู้วิจารณ์ได้ยกมาแล้วข้างต้น

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ