นามปากกา :

รางวัลที่ได้รับ :

พ.ศ. 2489 ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดคำขวัญสันติภาพจากองค์การสหประชาชาติด้วยข้อความว่า “สงครามคือบาป สันติภาพคือบุญ” ได้เงินมา 500 บาท
พ.ศ. 2534 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
พ.ศ. 2535 ได้รับยกย่องเป็นนักเขียนรางวัล “ศรีบูรพา”

ประวัติส่วนตัว :

เกิดวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2470 ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรคนที่ 3 ของขุนปัญจพรรคพิบูล(พิบูล ปัญจพรรค์) และนางกระแส(โกมารทัต) ปัญจพรรค์ บิดารับราชการกระทรวงมหาดไทย โยกย้ายไปเป็นนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดหลายแห่ง พี่สาวคนโตชื่อชอุ่ม ปัญจพรรค์ เป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงมากเช่นกัน

อาจินต์ ปัญจพรรค์ เป็นคนที่รักการอ่านหนังสือ และสนใจข่าวสารจากสื่อต่างๆ จนทำให้ เกิดความสนใจในงานประพันธ์ เมื่อเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 ได้เขียนเล่าเรื่องโรงโขนหลวงที่ พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ส่งไปลงหนังสือ “สุวัณณภูมิ” ช่วงหลังสงครามเริ่มเขียนเรื่องงานง่ายๆลงในหนังสือ “ฉุยฉาย” รายสัปดาห์ และ “ชวนชื่น” รายสัปดาห์
พ.ศ. 2489 ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดคำขวัญสันติภาพจากองค์การสหประชาชาติด้วยข้อความว่า “สงครามคือบาป สันติภาพคือบุญ” ได้เงินมา 500 บาท
พ.ศ. 2490 ได้ทำงานที่กระทรวงมหาดไทย ในหน่วยเฉพาะกิจสำรวจสำมะโนประชากร แต่ทำได้ไม่นานก็ออก และไปเรียนกฏหมายต่อแต่ไม่ได้จริงจัง ต่อมาได้ไปทำงานที่เหมืองแร่ที่จังหวัดพังงา ช่วงที่เดินทางไปจังหวัดพังงา ได้เขียนเรื่องสั้น “ในทะเลมีเศรษฐศาสตร์” เมื่อมาถึงจังหวัดพังงาได้เขียนสารคดีชื่อ “จดหมายจากเมืองใต้” ในนามปากกา “จินตเทพ” ลงในหนังสือ “โฆษณาสาร” รายเดือน
อาจินต์ ปัญจพรรค์ ได้เริ่มทำงานที่เหมืองเรือขุดแร่ดีบุก “กัมมุนติง” (Kammunting Tin Dredging) ในตำแหน่งเด็กฝึกงานทำงานตีเหล็กได้ค่าจ้างวันละ 6 บาท ตอนที่ทำงานอยู่นั้นได้เขียนเรื่องสั้น “สีชมพูยังไม่จาง” ส่งให้น้องสาวคือ วัฒนาปัญจพรรค์ ที่กำลังเรียนคณะเภสัชกรรม ที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ลงในหนังสือ “มหาวิทยาลัย” 23 ตุลาคม พ.ศ. 2492 แต่ทำงานได้ไม่นานถึงเดือน มีอาการไอเป็นเลือด เกิดจากการทำงานหนักจนเกินไปจนเส้นเลือดฝอยแตก
พ.ศ. 2492 ได้ไปทำงานที่เหมืองใหม่ที่เหมืองกระโสม (Krasom Tin Dredging) ได้ทำงานเขียนแบบประจำเหมืองเงินเดือน 500 ต่อเดือน ได้เป็นช่างทำแผนที่เงินเดือน 800 บาท
พ.ศ. 2496 เหมืองแร่ได้เลิกปิดกิจการ จึงได้กลับมาที่กรุงเทพฯ และได้เขียนเรื่องชุด “เหมืองแร่” ที่สร้างชื่อเสียงให้อาจินต์ ปัญจพรรค์
พ.ศ. 2494 ระหว่างที่อาจินต์ ปัญจพรรค์ทำงานอยู่ที่เหมืองนั้น ชอุ่ม ปัญจพรรค์ ผู้เป็นพี่สาวได้เจอนิยายของน้องชายที่ห้องจึงได้นำไปให้ศักดิ์เกษม หุตาคม เจ้าของนามปากกา “อิงอร” ช่วยพิจารณาและได้เปลี่ยนชื่อใหม่ “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” ส่งไปให้ประหยัด ศ.นาคะนาท สงใน “พิมพ์ไทย” วันจันทร์ มีผู้สนใจมาก จึงได้ส่งอีกเรื่อง “ผู้กล้าหาญ” แต่ได้รับการตอบรับไม่ดี
พ.ศ. 2496 เหมืองแร่ได้เลิกกิจการ จึงเดินทางกลับมาที่กรุงเทพฯ และได้ตั้งในเขียนนวนิยายอย่างจริงจัง เรื่อง “บ้านแร่” หลายตอนจบลงใน “โฆษณาสาร” ได้แปลเรื่องเฮนรี่ เจ.ไกเซอร์ และค่ายโคบาล แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไร ที่ได้ลงพิมพ์ใน “สตรีสาร” เป็นกลอนแต่ไม่ค่อยได้ค่าเรื่อง หรือเรื่อง “ในเหมืองแร่มีนิยาย” 4 ตอนจบในนิตยสาร “จ.ส.ช.”
พ.ศ. 2497 ได้เขียนเรื่องสั้น “สัญญาต่อหน้าเหล้า” ในนามปากกา “จินตเทพ” ได้ลงใน “สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์” ฉบับปฐมฤกษ์ และมีประหยัด ศ.นาคะนาท เป็นบรรณาธิการและทำให้มีโอกาสเขียนเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ในนิตยสาร “ชาวกรุง”
พ.ศ. 2498 ได้ไปทำงานที่ไทยทีวิช่อง 4 จอมพลป.พิบูลสงครามได้เปิดสถานีในวันชาติ 24 มิถุนายน พ.ศ.2498 โดยมีหน้าที่เขียนบทของสถานีได้เงินเดือนเริ่มต้น 800 บาท
พ.ศ. 2499 เป็นบรรณาธิการนิตยสาร “ไทยโทรทัศน์” รายเดือน ของไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม
พ.ศ. 2502 ได้รับเลือกให้ไปดูงานโทรทัศน์และชาวอเมริกัน ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 4 เดือน
พ.ศ. 2508 ได้คิดตั้งสำนักพิมพ์เพื่อพิมพ์เรื่องสั้นของตนเอง โดยเริ่งระบบเขียนเอง – พิมพ์เอง – ขายเอง ในราคาเล่มละ 5 บาท และเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า โอเลี้ยง 5 แก้ว ขณะที่รวมเรื่องสั้นชุดแรก “ตะลุยเหมืองแร่” ได้รับเลือกให้ไปประชุมนักเขียนเรื่องสั้น “แอฟโฟร – อาเซียน” ทีสหภาพโซเวียต 1 เดือน เมื่อกลับมากรุงเทพฯ ปรากฏว่ารวมเรื่องสั้นชุดแรกได้จำหน่ายหมดแล้วจึงได้พิมพ์ “ธุรกิจบนเขาอ่อน” และเรื่องเกี่ยวกับเหมืองแร่ก็ยังคงทยอยออกมาเป็นระยะ คือ “เหมืองน้ำหมึก” “เสียงเรียกจากเหมืองแร่” และ “สวัสดีเหมืองแร่” ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังตั้งคณะละครโทรทัศน์ของตัวเอง
พ.ศ. 2511 ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าแผนกแผนผังรายการและหัวหน้าแผนกบริการธุรกิจเงินเดือน 2,800 บาท และตำแหน่งบรรณาธิการ “ไทยโทรทัศน์” อีกเดือนละ 800 บาท
พ.ศ. 2512 ได้มีการร่วมหุ้นตั้งโรงพิมพ์อักษรไทย และทำนิตยสาร “ฟ้าเมืองไทย” รายสัปดาห์ ออกฉบับปฐมฤกษ์ วันจักรี 6 เมษายน พ.ศ.2512 ในราคาเล่มละ 3 บาท เป็นที่นิยมมาก จึงได้คิดหนังสือเล่มใหม่ โดยสุพล เตชะธาดา แห่งสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นเป็นผู้ลงทุน เกิด “ฟ้าเมืองทอง” รายเดือนเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2519 ประสบผลสำเร็จ จึงออก “ฟ้านารี” รายเดือนให้สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นอีกฉบับหนึ่ง มีคุณศรีเฉลิม สุขประยูรเป็นบรรณาธิการอยู่ได้ไม่นานก็เลิก ภายหลังทำ “ฟ้าอาชีพ” รายเดือนอีกระยะหนึ่ง ก็หยุดทำ ”ฟ้าเมืองทอง” ส่วน “ฟ้าเมืองไทย” มาสิ้นสุดตอน ตุลาคม พ.ศ. 2531 ผู้อ่านแสดงความรู้สึงเสียดาย จึงได้ตัดสินใจทำนิตยสาร “ฟ้า” รายเดือนอีกครั้งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2532 แต่ทำต่อมาได้ 3 ปี และได้ยุติลงเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 แต่อาจินต์ ปัญจพรรค์ ได้มีส่วนสร้างนักเขียนใหม่ให้มีขื่อเสียงโด่งดังในระยะต่อมาเป็นจำนวนมาก
อาจินต์ ปัญจพรรค์ ยังมีการสนใจในเรื่องการแต่งเพลงเป็นงานอดิเรก และเพลงที่ได้รับการนิยม เช่น เพลงประกอบละคร “สวัสดีบางกอก” “อย่าเกลียดบางกอก” เนื้อเพลง “มาร์ชลูกหนี้” ประกอบภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน เพลง “จดหมายรักจากเมียเช่า” หรือเนื้อเพลงในชุด “ปริญญาชาวนา” ที่ธานินท์ อินทรเทพร้อง อาจินต์ ปัญจพรรค์ ได้แต่งงานกับแน่งน้อย พงษ์สามารถ อดีตสาราณียกรของสโมสรนิสิตจุฬาฯ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2520 แต่ไม่มีบุตร
 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เสียชีวิตที่โรงพยาบาลบางไผ่ กรุงเทพฯ สิริรวมอายุได้ 91 ปี