วิทยากร เชียงกูล : นักแปล นักเขียนเรื่องสั้น และบทกวี

วิทยากร เชียงกูล

ประวัติย่อ
เกิดวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2489 ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 2 คน ของนายพุดเพ่ง และนางยุพิน เชียงกุล ที่พักอาศัยเป็นแบบห้องแถวสร้างด้วยไม้ เป็นร้านค้า ส่วนหนึ่งบิดาขายยา อีกส่วนหนึ่งมารดารับตัดเสื้อ แต่บิดาถึงแก่กรรมขณะทีวิทยากร เชียงกูลอายุ 2-3 ปี จึงเลิกขายยาเหลือแต่ตัดเสื้อ ภายหลังมารดาย้ายไปทำงานรับจ้างเย็บเสื้อผ้าที่กรุงเทพฯ และแต่งงานใหม่

พ.ศ. 2496 เรียนที่โรงเรียนพัฒนาราษฏร์ จังหวัดสระบุรี จบมัธยมปีที่ 3 (ป.6 สมัยนี้ ) พ.ศ. 2503

พ.ศ. 2508 จบสวนกุหลาบ ชั้นเตรียมดุดมศึกษา ที่กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2512 จบปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2524 – 2525 เรียนต่อปริญญาโท ด้านพัฒนาสังคมที่สถาบันสังคมที่สถาบันสังคมศึกษา เมืองเฮก เนเธอร์แลนด์ และใต้ทุนไปเรียนปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ที่ประเทศออสเตรเลีย แต่เป็นช่วงที่มีภาระครอบครัวเพราะภรรยาคลอดบุตรสาวในระหว่างนั้น จึงตัดสินใจหยุดเรียนก่อนจบการศึกษาระดับปริญญาเอก

ได้เข้าไปทำงานหนังสือ “ชัยพฤกษ์ ฉบับนักศึกษาประชาชน” ที่สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จนถึงปี 2516 ลาออกไปทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ตำแหน่งนักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจงานส่วนใหญ่ทำวารสารเศรษฐกิจ รายเดือน และรายปี

พ.ศ. 2525 หลังเรียนจบปริญญาโทแล้ว เปลี่ยนงานไปเป็นอาตารย์ภาควิชาสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. 2531 เป็นผู้ช่วยอำนวยการฝ่ายสำนักกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การและเป็นผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงินของรัฐสภา

พ.ศ. 2534 เป็นรองอธิการบดี ด้านวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นคณบดีคณะนิเทศศาสตร์คณะศิลปศาสตร์ และผอ.ศูนย์วิจัยด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

เรื่องงานประพันธ์ ได้มีการแต่งกลอนและทำหนังสือกับเพื่อนๆ ตั้งแต่เรียน และมาจริงจังตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย และได้มีการตั้งกลุ่มกับเพื่อนๆ ชื่อว่า “กลุ่มพระจันทร์เสี้ยว” และได้ทำหนังสือขายเล่มละ 2 บาท เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังจากการแต่งบทกวี เรื่องสั้นและบทละครภายหลังได้รวมพิมพ์ไว้ในหนังสือ “ฉันจึงมาหาความหมาย” นับว่าเป็นที่รู้จักของนักเรียนนักศึกษายุคก่อนและหลัง 14 ตุลาคม 2516 อย่างกว้างขวาง

พ.ศ. 2521 ได้เป็นตัวแทนกวีไทยร่วมกับนักเขียนคนอื่น ไปงานชุมนุมกวีแห่งอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย แล้วหันมาเขียนบทความวิชาการไว้มากงานแปลที่ได้รับคำวิจารณ์มากที่สุด “การแต่งงานในทัศนะใหม่” เป็นผู้ริเริ่มและร่วมกับคนอื่นวิจัย “หนังสือ 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน”

พ.ศ. 2541 ได้รับการยกย่องเป็นนักเขียนรางวัล “ศรีบูรพา” วิทยา เชียงกูล ได้สมรสกับพรภิรมณ์ เอี่ยมธรรม ซึ่งเป็นนักวิชาการ นักเขียน นักแปล ที่มีชื่อเสียง มีบุตรสาว 1 คน และยังมีผลงานลงในนิตยสารต่างๆ รวมพิมพ์เป็นเล่มอยู่เสมอ

นามปากกา
วิทยากร เชียงกูล

เกียรติยศที่ได้รับ
- พ.ศ. 2541 ได้รับการยกย่องเป็นนักเขียนรางวัล “ศรีบูรพา”

ผลงานรวมเล่ม
รวมเรื่องสั้นและบทกวี

  • ฉันจึงมาหาความหมาย
  • ฝันของเด็กชายชาวนา

งานแปล

  • เพื่อโลกที่ดีกว่า
  • การแต่งงานในทัศนะใหม่(แปลร่วม)
  • แนวคิดใหม่ทางการศึกษา
  • เธอคือชีวิต
  • เรือนรก
  • 55 วันก่อนญวนแตก(บ.ก.แปล)
  • แด่ความจนและความโง่เขลา (แปลร่วม)
  • กวีแห่งอาเซียน
  • น้ำพุแห่งความขมขื่น
  • เศรษฐศาสตร์ชาวบ้าน ฯลฯ

รวมบทความ

  • เราจะไปทางไหนกัน
  • ทางเลือกสังคมไทย
  • ปัญญาชนกับการเปลี่ยนแปลงสังคม ฯลฯ

งานวิชาการ

  • เศรษฐศาสตร์ทั่วไป(หนังสือเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น)
  • การพัฒนาทุนนิยมในประเทศไทย : ศึกษากรณีสังคมเกษตรกรรมภาคกลาง
  • การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย
  • บทวิเคราะห์ศึกษาบทบาทและความคิดของป่วย อึ๊งภากรณ์
  • ศึกษาบทบาทและความคิดของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
  • ศึกษาบทบาทและความคิดของกุหลาบ สายประดิษฐ์
  • ศึกษาบทบาทและความคิดของ ส.ศิวรักษ์
  • ศัพท์เศรษฐศาสตร์การเมือง
  • ศัพท์การบริหารการจัดการ ฯลฯ