นามปากกา :

รางวัลที่ได้รับ :

พ.ศ. 2520 โล่พัฒนาท้องถิ่น
พ.ศ. 2531 รางวัลนักศึกษาเก่าดีเด่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2531 รางวัลบุคคลดีเด่นวัฒนธรรมท้องถิ่น
พ.ศ. 2531 รางวัลกวีโลก
พ.ศ. 2531 รางวัลพ่อตัวอย่างแห่งชาติ
พ.ศ. 2533 รางวัลพระเกี้ยวทองคำ
พ.ศ. 2537 รางวัลนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2538 โล่เชิชูเกียรติชนียบุคคลทางวรรณกรรม
พ.ศ. 2549 รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์

ประวัติส่วนตัว :

อาจารย์มณีเป็นชาวเชียงใหม่โดยกำเนิด เกิดวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2473 ณ บ้านขี้เหล็กน้อย ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับอาจารย์บุญยิ่ง พยอมยงค์ เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยตำแหน่งทางวิชาการก่อนเกษียณอายุราชการ คือ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาส่งเสริมการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างที่อาจารย์มณีเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย อาจารย์เป็นผู้มีความรอบรู้ในล้านนาคดีอย่างมาก กระบวนวิชาที่อาจารย์สอนล้วนเกี่ยวข้องกับล้านนาคดี อาทิ วิชาวัฒนธรมพื้นบ้าน วิชาล้านนาคดี วิชาสิ่งแวดล้อมล้านนา เป็นต้น นอกจากนี้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาการศึกษาและสำรวจโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยพายัพ วิชาวัฒนธรรม มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตเชียงใหม่ ทั้งยังรับเชิญไปบรรยายพิเศษ และขับค่าวซอตามโอกาสต่างๆ ตำแหน่งทางวิชาการก่อนเกษียณอายุราชการ คือ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาส่งเสริมการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในระหว่างที่อาจารย์มณีเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย อาจารย์เป็นผู้มีความรอบรู้ในล้านนาคดีอย่างมาก กระบวนวิชาที่อาจารย์สอนล้วนเกี่ยวข้องกับล้านนาคดี อาทิ วิชาวัฒนธรมพื้นบ้าน วิชาล้านนาคดี วิชาสิ่งแวดล้อมล้านนา เป็นต้น นอกจากนี้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาการศึกษาและสำรวจโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยพายัพ วิชาวัฒนธรรม มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตเชียงใหม่ ทั้งยังรับเชิญไปบรรยายพิเศษ และขับค่าวซอตามโอกาสต่างๆ อาจารย์มณีได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2552 เวลาประมาณ 03.00 น. ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ด้วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือด