ทวีป วรดิลก : ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2538

ทวีป วรดิลก

ประวัติย่อ
ทวีป วรดิลก เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๑ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรอำมาตย์โทพระทวีปธุระศาสน์ (วร วรดิลก นามสกุลเดิม พรหมบุตร ) อดีต “เจ้าเมือง” กระบี่และชลบุรี ซึ่งถูกปลดออกจากราชการภายหลังกรณีกบฏบวรเดช กับนางจำรัสชีวกานนท์ เป็นบุครคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 9 คนโดยพี่ทั้งสามคนมีชื่อเสียงเกี่ยวข้องกับวงการหนังสือพิมพ์และวงการประพันธ์ทั้งสิ้นคือ ดรุณ ศิวะศริยานนท์ สุวัฒน์ วรดิลก (รพีพร) และถวัลย์วร วรดิลก

ในช่วงเยาว์วัย ได้ย้ายตามบิดาไปอยู่ที่จังหวัดชุมพรและเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนหลังสวนศรีวิทยา พิทยา อ.หลังสวน จ.ชุมพร เพราะบิดาทำงานเป็นทนายความอยู่ จนถึงชั้นประถมปีที่ ๒ จากนั้นจึงได้ย้ายกลับสู่กรุงเทพมหานคร และเข้าเรียนต่อชั้นประถมปีที่ 3 ที่โรงเรียนพร้อมมูลวิทยา และมัธยมปีที่ 1-3 โรงเรียนโสมนัสวิหาร และจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ จากโรงเรียนฝึกหัดครูแผนกสามัญวัดเบญจมบพิตร จากนั้นท่านได้เข้าศึกษาต่อในระดับเตรียมปริญญา ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองรุ่นที่ ๖ ในปี 2486 และเข้าศึกษาวิชากฎหมายในระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2492 ได้รับเลือกเป็นกรรมการนักศึกษาและบรรณกรวารสาร “ธรรมจักร” แต่ไม่ทันได้เรียนจนจบก็ประสบกับปัญหาทางการเมือง จนต้องถูกลบชื่อออกจากมหาวิทยาลัยเสียก่อน แต่ภายหลังสามารถสอบเป็นเนติบัณฑิตได้สำเร็จ

ทวีป วรดิลก เริ่มสนใจงานเขียนบทกวีมาตั้งแต่อายุเพียง ๑๑ ปี เริ่มแต่งร้อยกรองเมื่ออายุเพียง 14 ปี และมัธยมปีที่ 6 บทดอกสร้อยชิ้นแรกชื่อ “ดอกกระถิน” พอเข้าเรียนเตรียมปริญญาปีที่ 1 ก็ได้ต่งร้อยกรองโต้ตอบกับฐะปะนีย์ ณ ถลาง (นาครทรรพ) จนได้รับคำชมเชย และในปี2488 เมื่ออายุได้ 17 ปี คำฉันท์ชื่อ “อุษาแห่งสันติสมัย” ได้รับการพิมพ์ใน “ชาติไทย” รายสัปดาห์ที่ วิตต์ สุทธเสถียร เป็นบรรณาธิการ

ถือว่าเป็นกวีไทยคนสำคัญท่านหนึ่งที่ท่านชื่นชมในผลงานและยึดถือเป็น “คุรุกวี” คือกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ผู้ทรงใช้นามปากกา น.ม.ส. ผลงานการประพันธ์ของท่านที่คุณทวีปยกย่องเป็นพิเศษ และยึดถือเป็นแบบอย่างในเรื่องของความงดงามในการใช้ถ้อยคำ และความถูกต้องในต้องฉันทลักษณ์ ก็คือเรื่องกนกนคร และพระนลคำฉันท์ ส่วนกวีต่างประเทศที่คุณทวีปนิยมยกย่องได้แก่ วิลเลียม เชคสเปียร์ และเพอร์ซีย์ บิชช์ เชลลีย์ ซึ่งคุณทวีปได้ศึกษาผลงานของท่านเหล่านั้นอย่างถ่องแท้

ในพ.ศ. 2496 – 2506 ทวีป วรดิลก ได้ทำหนังสือพิมพ์อยู่หลายฉบับ จาก “สยามนิกร” ย้ายไปเป็นบรรณาธิการข่าวต่างประเทศของ “พิมพ์ไทย” จาก “สุภาพบุรุษประชามิตร” และได้ไปเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ “เสียงอ่างทอง” และเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องถูกคุมขังสาเหตุจากการที่เสนอทรรศนะที่เป็นการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ จึงทำให้ต้องมีนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์หลายท่านต้องโดนคุมขัง เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ ทองใบ ทองเปาด์ ฯลฯ ในตอนที่ถูกคุมขังก็ได้ไปสอบเนติบัณฑิตได้สำเร็จ แต่ได้เกิดล้มป่วยเพราะเป็นวัณโรคจึงได้รับการประกันตัวออกมาพักรักษาสุขภาพหลังจากที่ต้องโดยคุมขังเป็นเวลานาน สิบเดือน

พ.ศ. 2506 ได้เริ่มทำงานด้านกฏหมายที่สำนักงานทนายความ มารุต บุนนาค แล้วลาออกมาอยู่ประเทศอังกฤษแล้วกลับมาทำงานเขียนและแปลหนังสืออย่างจริงจัง นวนิยายแปลเรื่อง “คนขี่เสือ”และบทกวีเพื่อชีวิตเพื่อประชาชนของเขาตั้งแต่ พ.ศ. 2429 และได้รับความนิยมยุคบทกวีเพื่อชีวิตเฟื่องฟูหลัง 14 ตุลาคม 2516 ยังมีความสนใจในการแต่งเพลงจึงทำให้มีผลงานทางด้านการแต่งเพลงมาก เช่น มาร์ช ม.ธ.ก. ทำนองเพลงของฝรั่งเศษ โดยที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน ให้ทำนองและเพลง และมีบ้างเพลงที่แต่งตอนอยู่ระหว่างถูกคุมขัง “มาร์ชสิทธิมนุษยชน” บ้างเพลงได้แต่งรวมกับสง่า อารัมภีร์ เช่น “นางในฝัน” “รุ้งสวรรค์” “รักข้ามขอบฟ้า”

ทวีป วรดิลก แต่งงานกับกานดา พงศ์ธรานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2508 โดยคุ้นเคยกันระหว่างที่เธอเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดของบริษัทไทยพาณิชยการ เจ้าของพนังสือพิมพ์สยามนิกร พิมพ์ไทย สยามสมัย ฯลฯ เพราเป็นคนที่ชอบอะไรเหมือนกัน และเนื่องจาก กานดา พงศ์ธรานนท์ นั้นเคยเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยปักกิ่ง มีความรู้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษดี จึงเคยมีผลงานแปลข้อเขียนของ “ปาจิณ” เรื่อง “ใบไม้ผลิ” และ “ใบไม้ร่วง” ในนามปากกา “นารียา”

ช่วงหลังมานี้ ทวีป วรดิลก เป็นที่ปรึกษากฏหมายของบริษัทบัญชีกิจ จำกัด เป็นที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศของสำนักงานทนายความ คำนวณ ชโลปถัมภ์ ที่ปรึกษากฏหมายมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ที่ปรึกษามูลนิธิปรีดี พนมยงค์ ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ “มติชน” รายวันและที่ปรึกษากฏหมายบริษัทมติชน จำกัด แต่ก็ไม่ทิ้งการเขียน ก็ยังคงเขียนบทกวี บทความ สารคดี และงานแปล ทางสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้ประกาษเกียรติคุณให้เป็น 1 ใน 12 คน ของนักหนังสือพิมพ์ผู้มีผลงานและคุณธรรมดีเด่นในรอบปี 2534 และสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2538 แม้แต่ในหนังสือ The International Who’s Who in Poetry ยังมีนาม “ทวีปวร” ของทวีป วรดิลก ก็มีปรากฏประวัติ และผลงานโดยสังเขป

นามปากกา

  • ทวีป วรดิลก
  • ฐิติมา
  • ดาวสถิต
  • เทอด ประชาธรรม
  • กฤษณ์ วรางกูร
  • ทวีปวร

งานเขียนครั้งแรก

  • บทดอกสร้อยชิ้นแรกชื่อ “ดอกกระถิน”

ผลงานรวมเล่ม
กวีนิพนธ์

  • จงเป็นอาทิตย์เมื่ออุทัย
  • กำแพงเงา ฯลฯ

เรื่องแปล

  • คนขี่เสือ
  • ปาโบล
  • เนรุด้า
  • มหากวีแห่งชิลี
  • กวีนิพนธ์ลู่ชิ่น
  • กวีนิพนธ์ เหมาเจ๋อตง
  • กวีนิพนธ์อ้ายชิง
  • จูเลียส ซีซาร์
  • เก้ารัตนกวีของโลก เหมา เจ๋อตุง
  • การปฏิวัติจีนคดีหมินประมาทบันลือโลก
  • อั้งยี่ครองเมือง
  • อาณาจักรยากูซ่า
  • มาเฟียปล้นชาติ ฯลฯ

ประวัติศาสตร์

  • ประวัติศาสตร์จีน ฯลฯ

เกียรติยศที่ได้รับ

  • ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๘