นิทรรศการ ผี : ความกลัว...จัดการได้ ด้วยจินตนาการสร้างสรรค์ : หลอนก่อนฮาโลวีน เปิดกรุ วรรณกรรมผี !!! TCDC จำอวด

นิทรรศการ ผี : ความกลัว...จัดการได้ ด้วยจินตนาการสร้างสรรค์

นิทรรศการ ผี : ความกลัว...จัดการได้ ด้วยจินตนาการสร้างสรรค์ Spirits : Creativities from beyond

TCDC ได้นำเสนอเรื่องราวความเชื่อ ตำนาน จินตนาการของความกลัว ที่นำมาสู่กระบวนการจัดการ และการสร้างผลผลิตของงานสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ...

 

นิทรรศการ ผี

 

นิทรรศการ ผี : ความกลัวที่ดูได้ สำหรับทุกเพศทุกวัย เพราะผู้จัดได้นำเสนอไว้ในหลายมิติ ให้ผู้ชมได้สัมผัสตามความสนใจ...เด็กๆและวัยรุ่น ชวนกันปากต่อปาก มาสร้างจินตนาการความกลัวในห้องมืด (Leaning by Doing) หลอกเล่นกันอย่างสนุกสนาน...นักศึกษาและคนวัยทำงาน ไปชมเพื่อกระตุ้นความคิด “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Creative Economy) ผ่านธุรกิจแบบผีๆ...และสำหรับผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่ถึงสูงวัย ก็จะได้ความรู้ทางวัฒนธรรมความเชื่อ (Culture) ที่สั่งสมกันมาอย่างยาวนาน...

ส่วน อะหนึ่ง ยังอยู่ในอารมณ์ของเปิดกรุฯ...จึงสนใจมุมนี้เป็นพิเศษ ! สิ่งสะสมอันมาจาก “วรรณกรรมผี” ที่นำมาจัดแสดงไว้ในนิทรรศการผี (Retro) ย้อนอดีตขนหัวลุก ! คุณผู้อ่านที่อายุ ๓๐-๔๐ Up คงเคยสร้างจินตนาการความกลัว จากการอ่าน การ์ตูนผีเล่มละบาท นวนิยายผีประโลมโลกย์ โลกแห่งวรรณกรรมผี ที่ถ่ายทอดผ่านสื่อกระดาษสิ่งพิมพ์ ยังช่วยบันทึกเชิงสังคมและวัฒนธรรม ที่ผันเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และสื่อเทคโนโลยี...เรามาดูความเป็นมาของวรรณกรรมผี กันครับ...

 

นิทรรศการ ผี

จินตนาการสุดกู่ บนหน้ากระดาษ
ไอเดียน้ำหมึก จากก๊วนน้ำเมา


เมื่อคุ้นเคยกับความกลัว จนก่อเกิดเป็นจินตนาการ การถ่ายทอดเรื่องผี จึงปรากฏออกมาในรูปของภาพ และลายเส้น ประเดิมด้วย เหม เวชกรส่งเรื่องสั้นประกอบภาพ แนวภูติผีปีศาจ มาเขย่าวงการน้ำหมึกสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตามมาด้วยสำนักพิมพ์ต่างๆ ที่เริ่มหันมาเอาใจตลาดด้วยการ์ตูน ผีประโลมโลกย์ เล่มละบาท นิยายและการ์ตูนผี เริ่มระทึกใจแบบต่างชาติ หลังปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เมื่อผีดิบฝรั่งออกอาระวาดแผงกับนิตยสาร ช็อค ของค่ายบรรลือสาส์น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ปัจจุบันมีเรื่องผีหลากรูปแบบ วางจำหน่ายให้เสพตามรสนิยม ตั้งแต่นิตยสารการ์ตูนลายเส้นญี่ปุ่น ประกอบเรื่องผีสางทั้งไทยและเทศ จนถึงการ์ตูนผีบ้านๆก็มีขายในราคาห้าบาทสิบบาท และยังคงสั่นประสาทคนอ่านได้ไม่แพ้อดีต...ฯ

 

นิทรรศการ ผี

นิทรรศการ ผี

ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐
แจ้งเกิดเรื่องและภาพผีไทย


ยุคเริ่มต้นของการแต่งเรื่องผี ถ้าไม่นับ ผีอีนาก ที่เล่าขานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ และ ผีกรุงเก่า ถึงเหตุพระเจ้าตากสินฯ ทรงสุบินว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ห้ามครองกรุงศรีอยุธยา ที่เล่าลือกัน ภาพผีในยุคแรกจึงเป็นผีประกอบนิยายระทึกขวัญที่ได้รับความนิยม อย่างผลงานของเหม เวชกร อ.อรรถจินดา หรือ ใบหนาด (ณรงค์ จันทร์เรือง) ก่อนสื่อสิ่งพิมพ์จะเสื่อมความนิยมลง หลังการแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม ที่เริ่มในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ และช่อง ๗ สนามเป้า ในปีถัดมา...ฯ

 

นิทรรศการ ผี

นิทรรศการ ผี

ปี พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๒๕
ยุคโด่งดังของการ์ตูนผีไทย


ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ คือช่วงรอยต่อของการ์ตูนผีไทย เริ่มมีการสร้างตัวละคร ผีไร้ชื่อ รุ่นใหม่ไปพร้อมๆกับการปัดฝุ่น ผีเก่า ต้นทุนกระดาษที่สูงขึ้น ทำให้สำนักพิมพ์บางกอกสาส์น เป็นเจ้าแรกที่ตัดสินใจผลิตการ์ตูนขนาด ๑๖ หน้ายก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ บางสำนักพิมพ์เริ่มใช้เทคนิคการพิมพ์แบบออฟเซท เพื่อให้ปกการ์ตูนผี มีสีสันน่าอ่าน แต่ทว่าความวุ่นวายทางการเมืองในอีก ๔ ปี ต่อมา ทำให้รัฐบาลตรวจสอบเนื้อหาหนังสืออย่างเข้มงวด ส่งผลให้การพิมพ์นิยาย และหนังสือการ์ตูนผีเป็นไปอย่างยากลำบาก ก่อนบรรยากาศจะคลี่คลายลงในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ การ์ตูนผีแนว อีโรติก เล่มละบาท กลับมาเป็นที่นิยมอย่างยิ่งจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๐...ฯ

 

นิทรรศการ ผี

นิทรรศการ ผี

นิทรรศการ ผี

ปี พ.ศ. ๒๕๒๕-ปัจจุบัน
ภาพผีเมืองร่วมสมัยแบบผสมผสาน


สังคมสมัยใหม่ก่อกำเนิด ผีเมือง ที่ได้รับอิทธิพลจากนานาชาติ ทำให้เนื้อหานิยายและการ์ตูนผี มีความหลากหลาย วิธีการเล่าเรื่องผีจากสิ่งพิมพ์อเมริกัน และเอเชียโดยเฉพาะอย่างญี่ปุ่น ส่งผลให้กลวิธีการเล่าเรื่องผีของไทย ฉีกแนวเป็นสยองขวัญขึ้นกว่าก่อน ปัจจุบันนักเขียนการ์ตูนไทย ยังคงวาดผลงานในแนวที่ตนถนัด ไม่ว่าจะ โต๊ด โกสุมพิสัย ผู้มุ่งให้ความบันเทิงด้วยการ์ตูนผีไทยเนื้อหาแน่น เล่มละ ๕ บาท ธีรวัฒน์ เทียรประสิทธิ์ เจ้าของผลงานนวนิยายภาพลายเส้นสุดหลอน หรือ ปุ๋ย เดวิล (ศุภมิตร จันทร์แจ่ม) เจ้าของงานสดุดีผีของ เหม เวชกร ต้นแบบนักเขียนวรรณกรรมผี...ฯ

 

นิทรรศการ ผี

นิทรรศการ ผี

นิทรรศการ ผี

นิทรรศการ ผี

 

ขอบคุณที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=651966

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ