อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ : หนังสือเรียน มานะ มานี ปิติ ชูใจ

อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ

ถ้าพูดถึง หนังสือเรียน มานะ มานี ปิติ ชูใจ แล้วหล่ะก็หลายคนเลยแหละที่ได้ผ่านการเรียนรู้มาจากหนังสือเหล่านี้ เรียกได้ว่าเป็นหนังสือเล่มแรกๆที่เราเริ่มฝึกหัดอ่านออกเสียง สะกดคำ เป็นหนังสือเรียนในตำนานที่หลายคนยังนึกถึง จดจำและกล่าวถึง กันถึงทุกวันนี้ ^^ แต่เพื่อนๆรู้ไหมว่าผู้สร้างหนังสือเรียนสุดคลาสสิคนี้ คือใคร .. แล้วมีที่มาที่ไปอย่างไร ตามทีนเอ็มไทยไปดูกันเลย ^^ อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ

 

อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ
อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ

 

หนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ นี้ ถือเป็นหนังสือเรียนเล่มแรกที่ทำให้เราได้เรียนรู้ภาษาไทย เริ่มจากการใช้คำสั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความในการเรียนภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นการสะกดคำ การอ่านออกเสียง บวกกับเรื่องราวที่สนุกสนานของ มานะ มานี ปิติ ชูใจ .. เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ บทเรียนก็มีการพัฒนาเนื้อหามากขึ้น ถึงแม้หนังสือเรียนบทนี้จะหายไปแล้ว แต่หลายคนก็ยังคงจดจำเรื่องราวน่ารัก ความรู้ของบทเรียนในตำนานนี้ได้ขึ้นใจอยู่ดี บางที่ได้นำรูปภาพ มานะ มานี ปิติ ชูใจ มาทำใหม่ เพิ่มข้อความสอนใจ ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้รู้กัน เป็นต้น

 

อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ
แบบหนังสือเรียน มานะ มานี ปิติ ชูใจ อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน “ตำนานเด็กดี”

 

ขอบอกให้ฟังถึงที่มาที่ไปของหนังสือแบบเรียน นี้กันก่อนละกันเนอะ ^^ ไม่แน่ใจว่าวัยรุ่นยุคใหม่นี้จะเกิดทัน หนังสือแบบเรียน มานะ มานี ปิติ ชูใจ กันรึเปล่า?

- มานะ มานี ปิติ ชูใจ เป็นชุดแบบเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา ในชั้นประถมปีที่ 1-6
รวมทั้งสิ้น 12 เล่ม ซึ่งใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยระหว่างปี พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2537 เขียนโดยรัชนี ศรีไพรวรรณ และใช้รูปภาพประกอบกับเนื้อหาโดยเขียนภาพประกอบโดย 3 คือ เตรียม ชาชุมพร นักวาดการ์ตูนและนิยายภาพชื่อดังแห่งชัยพฤกษ์การ์ตูน, โอม รัชเวช และปฐม พัวพิมล

- กระทรวงศึกษาธิการมีความต้องการเปลี่ยนหลักสูตรแบบเรียนภาษาไทยใหม่
โดยตั้งเงื่อนไขว่า ต้องให้เด็ก ๆ อ่านแล้วรู้สึกสนุก ติดใจ อยากเรียนภาษาไทย เมื่อเขียนเสร็จได้นำมาปรับปรุงและทดลองใช้จนแน่ใจว่า เรื่องราวเนื้อหา ที่เด็กอ่านนับล้านคน เป็นเรื่องที่ดี บริสุทธิ์ ไม่เป็นพิษเป็นภัย ในแต่ละชั้นเรียนจะได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ เพิ่มขึ้นในแต่ละปีการศึกษา

 

อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ
บทเรียนที ๑ หนังสือเรียน มานะ มานี ปิติ ชูใจ

 

- โดยในตอนที่เป็นแบบเรียนภาษาไทยยังไม่มีชื่อ แต่รัชนี ศรีไพรวรรณ ผู้เขียนแบบเรียน
เล่าว่า ก็มีคนเรียกเล่น ๆ ว่าเรื่อง “ตำนานเด็กดี” แบบเรียนนี้ใช้เวลาเขียนนานกว่า 4 ปี มุ่งหมายสอนให้ความรู้ทางภาษาทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ด้วยจำนวนคำ เริ่มตั้งแต่ชั้น ป. 1 กำหนดคำไว้ 150 คำ และเพิ่มขึ้นเป็นพัน ๆ คำ เมื่อเลื่อนชั้นปี จนมาถึงปี 2537 ก็ถูกถอดออกจากแบบเรียนเพราะเนื้อหาในหนังสือเรียนไม่ทันยุคทันสมัย

 

อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ
ตัวละคร มานะ มานี ปิติ ชูใจ

 

อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ
โดย อาจารย์รัชนี กล่าวว่า แบบเรียนนี้ได้พัฒนามาจากแบบเรียนแบบเก่าที่ล้าสมัย (ในขณะนั้น) อาจารย์ก็เลยแทรกทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนไว้ใที่เดียวกันซึ่งแบบเรียนเก่านั้นไม่มี .. ตอนเริ่มเขียนแบบเรียนภาษาไทยนี้ อาจารย์รัชนี ก็ดูว่า

- เด็กชอบอะไร? นั่นก็คือ สัตว์เลี้ยง
ก็เลยเขียนเนื้อหาโดยมีตัวละคร มานะ มานี เป็นพี่น้องกัน มีเจ้าโตเป็นสัตว์เลี้ยงขึ้นมา ต่อมาก็มีนกแก้ว , ชูใจ – แมว(สัตว์เลี้ยง), วีระ – เจ้าจ๋อ(ลิง), ปิติ – เจ้าแก่(ม้า)

- ต่อมาก็ดูมาวิจัยต่างๆ เด็กเริ่มพูดตัวอักษร พยัญชนะตัวไหนได้ก่อน
นั่นก็คือ ตัว ม.ม้า – มะ มา ซึ่งเกือบจะทุกชาติเลยที่เริ่มออกเสียงได้แบบนี้ อีกทั้งเด็กจะออกสระเสียงยาว เสียงสั้นจะออกไม่ได้ ถ้าได้ย้อนกลับไปดูบทเรียนเล่มแรกๆจะเห็นได้ว่ามีแต่สระเสียงยางทั้วนั้นเลย ^^

” การคิดแบบเรียนภาษาไทยเป็นความยาก และลำบาก แต่เป็นความลำบากที่มี ความสุข” อาจารย์รัชนี

 

อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ
แบบเรียนภาษาไทย” ทางช้างเผือก”

 

แบบเรียนเล่มต่อมาคือ “ทางช้างเผือก”
ตัวละครยังคงเป็นตัวเดิม แต่มีเรื่องราวที่เปลี่ยนไป โตขึ้นทั้งความคิด ความอ่าน รวมถึงจินตนาการต่างๆของเด็ก อาจารย์ก็ดูว่าทำไมเด็กถึงชอบอ่านแฮรรี่ พอตเตอร์ ก็เลยสร้างเรื่องราวที่คล้ายกัน มีสายรุ้ง จินตนาการ ทำให้เด็กได้สร้างจินตนาการ

 

ขอบคุณที่มา : teen.mthai

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ