6 กระบวนท่า เขียนให้คนอ่านรัก : วันนี้จึงรวบรวม 12 กระบวนท่าที่เป็นเส้นบางๆกั้นระหว่างความยากง่ายในการทำให้คนอ่านเข้าใจมา ฝากทุกคนกัน

6 กระบวนท่า เขียนให้คนอ่านรัก

เคยสังเกตตัวเราเองเวลาอ่านหนังสือกันบ้างรึเปล่าครับ ในหนังสือหมวดหมู่เดียวกันที่เราอ่าน บางครั้งเป็นหมวดหมู่ที่เนื้อหาไม่ได้วิชาการหรือทางการมากนัก ทำไมบางเล่มเราถึงอ่านได้เรื่อยๆ อ่านรวดเดียวเกือบหรือจบเล่มได้ง่ายๆ ทำไมบางเล่มอ่านเท่าไหร่ก็ไม่เข้าใจ ทั้งๆที่เป็นหนังสือประเภทเดียวกัน คำตอบที่ทำให้ความยากง่ายแตกต่างในการอ่านนั้น เริ่มมาจากฝีปากกาของนักเขียน บางคนมีประสบการณ์มาก รู้ จังหวะในการเล่าเรื่องดี มีสิ่งที่จะสื่อสารชัดเจน และความสามารถในการเขียนอีกหลายๆอย่าง จะสามารถทำให้คนอ่าน เข้าถึงอรรถรสและอ่านงานเขียนได้ง่ายมากขึ้น อุ๊คบีอยากให้ทุกคนมีความสามารถมากขึ้นจึงรวบรวม 12 กระบวนท่าที่เป็นเส้นบางๆกั้นระหว่างความยากง่ายในการทำให้คนอ่านเข้าใจมา ฝากทุกคนกัน

เขียนให้อ่านง่าย
การเขียนเนื้อหาให้อ่านง่ายเป็นสิ่งจำเป็นในการเขียนหนังสือ เพราะนอกจากจะทำให้อ่านได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังสามารถส่งผลด้านดีไปถึงทั้งตัวหนังสือเล่มนั้นและตัวผู้เขียนอีกด้วย หลักการสำคัญคือผู้เขียนต้องพยายามเขียนเพื่อสื่อความคิดและสื่อข้อเท็จจริง ที่ถูกต้องให้กับผู้อ่านได้อย่างเพลิดเพลินและจูงใจ และต้องไม่ลืมว่า การเขียนไม่ใช่การพูด การเขียนไม่สามารถใช้น้ำเสียง ท่าทาง และสีหน้าของคนพูดมาช่วยในการส่งข้อความได้ จึงต้องพยายามทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างคนพูดและคนเขียนให้ได้

คิดก่อนเขียนเสมอ
อย่างที่ได้บอกไว้ในข้อแรก การเขียนงานที่ดีต้องเขียนให้อ่านง่าย เพราะฉะนั้น การคิด การวางแผนก่อนการลงมือเขียนจริงจึงเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการคิดในเรื่องของหัวข้อที่อยากเขียน ข้อความใดจะขึ้นก่อนหรือหลัง หรืออีกหลายๆเรื่อง การคิดก่อนเขียนจะทำให้ที่สิ่งที่เราเขียนออกมาชัดเจนมากขึ้น ไม่วกไปวนมา สำหรับคนที่เป็นมือใหม่อาจจะใช้รูปแบบการคิดแบบ 5 คำถามคือ ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไม เป็นเค้าโครงความคิดคร่าวๆไว้ก่อนก็ได้

เขียนให้ถูกเป้าหมาย
งานเขียนที่ดี คืองานเขียนที่ทำให้คนอ่านรู้ถึงเป้าหมายที่คนเขียนอยากสื่อออกมาได้อย่าง รวดเร็วและเข้าใจง่าย ซึ่งเป้าหมายก็ไม่ใช่อะไรที่ไหน มันคือหัวข้อเรื่องนั่นเอง การที่เขียนไม่ถูกเป้าหมาย จะทำให้คนอ่านรู้สึกเหมือนตัวเองอยู่ในเขาวงกต ยิ่งอ่านยิ่งไม่เข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจสิ่งที่จะสื่อก็เลิกอ่านในที่สุด

ใช้คำชินหูชินตา
การใช้คำศัพท์ที่ชินหูชินตาผู้อ่าน จะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงงานเขียนของเราได้ง่ายขึ้นมากกว่าการใช้คำศัพท์ ใหญ่ๆ ถึงแม้ว่าการใช้คำศัพท์สูงๆจะทำให้นักเขียนดูเป็นคนทรงคุณวุฒิ แต่การใช้คำศัพท์สูงให้ดูพอดีกับเนื้อเรื่องจะทำให้ผู้เขียนดูทั้งเป็นคนทรง คุณวุฒิที่เข้าถึงผู้อ่านได้ง่ายกว่า เพราะหากว่าผู้อ่านไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนจะสื่อ ผู้อ่านอาจจะคิดไปเลยว่างานเขียนชิ้นนั้นไม่มีอะไรดี

คำที่ใช้ต้องเหมาะสมและชัดเจน
การใช้คำที่เหมาะสมและชัดเจนในเนื้อหา จะทำให้เกิดความหมายในงานเขียนที่ไปในทิศทางเดียวกัน นักเขียนจะต้องใช้คำศัพท์และรูปประโยคอย่างระมัดระวัง ไม่ก่อให้เกิดความสับสนระหว่างอ่าน โดยที่คำศัพท์ที่นำมาใช้นั้น ตัวนักเขียนเองควรจะเข้าใจในความหมายของคำนั้นดีด้วย โดยเฉพาะคำศัพท์ยากๆ เพราะคนอ่านกับคนเขียนอาจจะหมายความคำศัพท์นั้นไม่เหมือนกัน อาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้

ใช้คำคุณศัพท์แต่พอดี
ใช้คำคุณศัพท์ในปริมาณที่พอดีและความหมายเหมาะสมกับบรรยากาศของเรื่องราว ที่เขียน การใช้คำคุณศัพท์มากเกินไปจะทำให้สิ่งที่นักเขียนสื่อออกมาดูเกินกว่าเหตุ ทำให้เนื้อเรื่องวกวน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดได้ โดยเฉพาะกับอาชีพนักข่าว ต้องมีความสามารถในด้านนี้มากเป็นพิเศษ เพราะต้องเขียนเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง
กำลังคิดเปรียบเทียบกับงานตัวเองอยู่ใช่รึเปล่าเอ่ย? งั้นวันนี้อุ๊คบีเอามาฝากแค่นี้กันก่อนจะได้ไม่มากจนเกินไป แต่อุ๊คบีมั่นใจว่าแค่6ข้อนี้ก็จะสามารถเพิ่มความสามารถนักเขียนได้มากมาย แล้ว อุ๊คบีขอให้ทุกคนเก่งขึ้นๆทุกครั้งที่ลงมือเขียนเลยนะ

 

6 กระบวนท่า เขียนให้คนอ่านรัก

 

 

ขอบคุณที่มา : http://blog.ookbee.com/2015/01/23/6-กระบวนท่า-เขียนให้คนอ/

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ