Banana Book Park : ร้านหนังสือ Stand Alone มุมสบาย ๆ ใกล้บ้านคุณ

Banana Book Park

Banana Book Park

สถานีต่อไป อารีย์…. Next Station อารีย์ … อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนึกว่า วันนี้ผมพาท่านผู้อ่านมานั่งรถไฟฟ้าเที่ยวรอบกรุง ผมใช้รถไฟฟ้าเป็นยานพาหนะในการเดินทาง ถึงแม้จะรู้สึกงงงันกับเส้นทางอยู่บ้าง เพราะไม่ได้เป็นยานพาหนะที่ผมใช้ประจำ อย่างผมต้องรถโดยทางประจำทาง ตามประสาคนชอบของแถม (จะลงป้ายนี้แต่จอดป้ายหน้าทุกทีไป) มูลเหตุที่ทำให้ผมต้องทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย เพราะผมนัดหมายพี่วีรณัฐ โรจนประภา เจ้าของร้าน Banana Book Park ที่ตั้งอยู่ตรง ซอยอารีย์ นั่นเอง ผมลงจากสถานีรถไฟฟ้า เดินต่อไปไม่กี่ก้าวก็ถึง ตึกแถว 4 คูหา ผนังเป็นกระจกใสสลับกันปูนซีเมนต์ที่ทาด้วยสีเหลือง ปักธงสีเหลือง มีตัวอักษรภาษาอังฤกษ อ่านว่า Banana Book Park เมื่อมองเข้าไปจะเห็นถึงความโอ่โถงและการตกแต่งทันสมัย

ผมผลักประตูก้าวเข้าไปข้างในสิ่งแรกที่รู้สึกได้ คือ การตกแต่งอย่างโปร่ง ๆ มิได้แออัดไปด้วยชั้นวางหนังสือ ภายในร้านถูกแบ่งออกเป็นสัดส่วน อย่างกลมกลืน ในส่วนซ้ายมือถูกจัดเป็นมุมคอฟฟี่ ช็อป ซึ่งอยู่ติดกับมุมขายแผ่นซีดีหนังและซีดีเพลงจากหลายค่าย ขวามือเป็นส่วนเครื่องเขียนและเคาท์เตอร์แคชเชียร์ ด้านหน้าเป็นมุมของหนังสือขายดี และหนังสือออกใหม่ไว้บริการลูกค้าเพื่อให้หยิบสะดวก ชั้น 2 ตรงบันได มีข้อความว่า

"หนังสือแบบเรียน เชิญชั้น 2 ค่ะ"

หนังสือทุกหมวดหมู่ถูกจัดวางเรียงอย่างเป็นระเบียบ ผมก็เดินมาถึงมุมหนังสือเด็กซึ่งทำให้ผมรู้สึกประทับมาก เพราะทางร้านสามารถออกแบบตกแต่ง เหมือนเนรมิตสนามเด็กเล่นขนาดย่อมมาที่หลากหลายไปด้วยหนังสือนานาชนิด ตามทางเดินมีเก้าอี้ตั้งไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อเป็นการรับรองนักอ่านที่ต้องการพิถีพิถันในการเลือกซื้อ ทำให้ผมเห็นถึงความใจกว้างของเจ้าของร้านขึ้นมาในทันที

Banana Book Park

ผมเดินต่อไปยังไม่ถึงไหน ก็ต้องขึ้นไปพบพี่วีรณัฐ ที่ชั้น 2 พี่วีรณัฐนั่งรอผมอยู่บนโต๊ะที่จัดไว้ให้ลูกค้านั่งอ่านหนังสือ ผมจึงไม่รอช้า ยิงคำถามแรกที่ค้างใจอยู่

"พี่…ไม่กลัวลูกค้ามานั่งอ่านหนังสือ ฟรีแล้วไม่ซื้อหรือครับ"

"ผมว่า ก็ดีครับ… ยิ่งคนรักการอ่านมากขึ้นเท่าใดผมว่ามันก็ดี ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า ถ้าเป็นคนรักการอ่านแล้วหล่ะก็ไม่วันใด วันหนึ่งเขาต้องซื้อหนังสือไป"

พี่วีรณัฐ เป็นคนใจดีให้ความเป็นกันเองกับผมมาก เขาก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เกิดมาในครอบครัวที่เปิดสำนักพิมพ์ผลิตงานด้านนิตรสาร ภายใต้ชื่อสำนักพิมพ์บางกอก การเติบโตมาบนกองหนังสือจึงทำให้เขาซึมซับและรักการอ่านหนังสือไปโดยปริยาย การตั้งร้านหนังสือในครั้งนี้ มิได้ถูกสร้างขึ้นจากเหตุผลทางธุรกิจที่ต้องการจะระบายหนังสือของตนเอง พี่วีรณัฐเล่าให้ฟังว่า ร้าน Banana Book Park เดินขึ้นเพราะปัญหาที่ประสบกับตนเอง

"ผมต้องการจะซื้อหนังสือสักเล่มต้องขับรถไปซื้อถึง ห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าขายใหญ่ ๆ อย่างสยามสแควร์ ซึ่งสถานที่พวกนี้แม้จะหาซื้อได้ง่าย แต่กลับไม่ได้รับความสะดวกสบายเรื่องที่จอดรถ ผมเลยเกิดแนวความคิดอยากจะทำร้านหนังสือที่เป็น Stand Alone อิงการให้บริการกับชุมชน ไม่ได้อิงกับสถานบริการที่มีความสะดวกสบายทุกด้านอยู่แล้ว " สำหรับชื่อ Banana Book Park นั้น ต้องการสื่อความหมายให้คนเข้าร้านรู้สึกสบาย ๆ คิดว่าการเข้าร้านหนังสือเป็นเรื่องเบา ๆ

เมื่อพูดถึงร้านหนังสือที่เป็นที่รู้กันว่าเป็นธรุกิจที่ไม่ค่อยทำกำไร อาจถึงขั้นเจ็บเนื้อเจ็บตัวอยู่บ้างก็ตามและยิ่งเป็นร้านหนังสือ Stand Alone ยิ่งมีความเลี่ยงขึ้นไปอีก

"ถ้าถามถึงความเลี่ยงผมยอมรับว่าเลี่ยง แต่มาถึงทุกวันนี้ ผมคิดว่ามันเดินทางมาถึงจุดคุ้มครึ่งหนึ่ง ถึงแม้รายได้ต่อเดือนยังนับว่าไม่คุ้ม ที่ว่าคุ้มคิดหนึ่งคือ สามารถเป็นแห่งพักผ่อนหย่อนใจของชุมชน เวลาคนทำงานเลิกงานก็จะมาแวะซื้อหนังสือ ซีดีเพลง ซีดีหนัง แทนการไปพักผ่อนกินเหล้า กินเบียร์ จุดนี้มากกว่าที่ผมเรียกว่าคุ้ม "

คงเป็นความโชคดีของพี่วีรณัฐที่เกิดมาในตระกูลที่ทำธุรกิจอยู่บ้าง เมื่อถูกถามถึงวิธีการจัดการความฝันเป็นอย่างไร พี่วีรณัฐไม่รีรอที่จะตอบคำถาม

"Banana Book Park ตั้งขึ้นเป็นบริษัท จดทะเบียนกว่า 6 ล้านบาท ใช้ระยะในการวางแผนทั้งหมด 6 เดือน ผมคลุกคลีอยู่กับวงการหนังสือมาจึงรู้ว่าเส้นทางนี้มันจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งเราเตรียมงบประมาณสำหรับขาดทุน ติดต่อกัน 3 ปี อย่างปีแรก จะขาดทุนเท่าไร ปีสองจะขาดทุนอย่างไร มีสามจะขาดทุนเท่าไรปี และปีสี่ถึงจะคุ้มทุน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแนวโน้มค่อนข้างดีกว่าแผนที่คาดการณ์ไว้ "

นอกจากการวางแผนระยะยาวแล้ว ยังมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีก พี่วีรณัฐได้เล่าได้ฟังถึง การติดต่อประสานงานกับ Supplier ซึ่งเป็นธรรมดาที่ต้องมีปัญหากันบ้าง อาทิเช่น มาส่งหนังสือช้า หรือแม้แต่การไม่เชื่อเครคิต พี่วีรณัฐก็จะแก้ปัญหาโดยไม่ง้อ การไม่ง้อในที่นี้ หมายถึงถ้าเขาไม่มาส่งก็จะไปรับหนังสือเอง หรือถ้าไม่เชื่อเครคิตก็ใช้เงินสดตัดปัญหาความล้าช้าออกไป เพื่อให้ลูกค้าได้หนังสือเร็วที่สุด ข้อเสียของการทำงานแบบนี้คือ ต้องใช้เงินและคนมาก การที่สามารถทำงานแบบนี้ได้ เพราะจุดประสงค์ของเราไม่ต้องการกำไร 100 เปอร์เซ็นต์ เพียงต้องการบริการลูกค้าสร้างความพึ่งพอใจของลูกค้าเป็นหลักใหญ่

แม้ภายในร้านแห่งนี้จะไม่สามารถบรรจุหนังสือได้ทุกเล่ม ทุกปกแต่ผมกับได้ยินพี่วีรณัฐพูดว่า

"ถ้าใครต้องการหนังสือเล่มไหน แล้วทางร้านไม่มีเราจะทำการบริการโทรไปเช็คกับทางหอสมุดแห่งชาติ ทำการจัดซื้อแล้วโทรเรียกลูกค้ามารับไป ซึ่งหนังสือบางตัวก็ไม่ได้กำไร"

ขณะที่เรานั่งคุยกันอยู่นั้นพี่วีรณัฐก็มองลงไปที่ชั้นล่าง พอดีมีลูกค้ากลุ่มใหญ่เดินเข้ามา น่าจะเป็นพ่อ แม่ ลูก หลังจากนั้นเขาก็แยกกัน พ่อเลือกซื้อซีดี แม่ซื้อกาแฟเย็นให้ลูกและเดินไปหาหนังสือ เป็นภาพที่ทำให้พี่วีรณัฐ รู้สึกมีความสุข ที่ได้อยู่กับคนที่มีรสนิยมเดียวกัน

ก่อนที่ผมจะกล่าวลา พี่วีรณัฐ ทิ้งท้ายสำหรับคนที่ต้องการจะเปิดร้านหนังสือว่า "สำหรับคนที่ต้องการจะเปิดร้านหนังสือ ต้องถามใจตัวเองให้แน่นอนก่อนว่าทำเพื่อความรักหรือกำไร ถ้ายังนึกถึงตัวเลขว่าลงทุนไปเอานี้บาทแล้วต้องกลับมาเท่านี้บาท ผมว่าไปทำธุรกิจอย่างอื่นดีกว่า ส่วนร้านหนังสือเล็ก ๆ ถ้าต้องการจะอยู่รอดนั้น ต้องหาจุดเด่นให้กับร้านของตัวเอง เช่น ถ้าต้องการจะซื้อหนังสือคอมพิวเตอร์ต้องมาที่นี้ ความฝันก็อาจจะเป็นความจริงขึ้นมาได้"

Banana Book Park ยังคงตั้งอยู่เป็นร้านหนังสือ Stand Alone ใจกลา

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ