พัณณิดา ภูมิวัฒน์ : การเขียนหนังสือ... คือการสะท้อนโลกที่เราเห็น

พัณณิดา ภูมิวัฒน์

สวัสดีค่ะวันนี้คอลัมน์คุยนอกรอบของเรายังคงสนใจที่จะคุยกับนักเขียนแนวแฟนตาซี ที่น้องๆ หนูๆ หรือกระทั่ง พี่ ๆ ทั้งหลายติดอกติดใจกันงอมแงม กับโลกจิตนาการเหล่านี้ แต่นักเขียนของเราวันนี้ไม่ใช่นักเขียนจากสำนักพิมพ์เรนโบว์ ในเครือประพันธ์สาส์นหรอกค่ะ แต่เป็นนักเขียนแนวแฟนตาซีเจ้าของผลงานที่หลาย ๆ คนรู้จักกันดีกับเรื่อง “ไมรอน” และนอกจากนี้เธอก็ยังมีผลงานอื่น ๆ อีกหลายต่อหลายเล่มด้วยกัน ฉะนั้นอย่ารอช้า เราไปทำความรู้จักกับเจ้าของนามปากกา ลวิตร์ ที่ฮิต ๆ ติดตามาจากโลกออนไลน์กันดีกว่าค่ะ

 

พัณณิดา ภูมิวัฒน์

 

แนะนำตัวและผลงานที่ผ่านมาสักนิดค่ะ
ชื่อจริงคือ พัณณิดา ภูมิวัฒน์ และเป็นชื่อที่ใช้เขียนหนังสือด้วย ชื่อเล่นจริงๆ ชื่อปันปัน คนชอบคิดว่าเป็นภาษาอิตาลี เพราะชื่อเหมือนร้านอาหารอิตาลี แต่จริง ๆ แล้ว เขียนเป็นภาษาอังกฤษไม่เหมือนชื่อร้านอาหาร (เขียนว่า PunPun ร้านอาหารเขียน PanPan) และไม่ได้เป็นภาษาอิตาลี แต่เป็นภาษาไทย แปลว่า แบ่งปัน ส่วนชื่อในเน็ตมีหลายชื่อ ชื่อแรกที่ใช้ในเน็ตคือ ลวิตร์ แปลว่า เคียวเกี่ยวข้าว ทำให้บางคนเรียกว่า “เคียว” ส่วนใหญ่แล้วจะเขียนเรื่องแฟนตาซี และนิยายวิทยาศาสตร์ มีงานออกกับสำนักพิมพ์ต่าง ๆ เช่น แพรวเยาวชน สถาพรบุ๊คส์ นวนิตา ส่วนตัวแล้วชอบนิทานและตำนานโบราณ คนอ่านมักจะบอกว่าต่อให้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ก็จะมีกลิ่นอายของตำนาน

ก้าวแรกสู่การเป็นนักเขียนเริ่มต้นอย่างไร
คิดว่าคงเริ่มที่คุณแม่ คุณแม่เป็นคนอ่านหนังสือมาก และชอบเล่าเรื่องที่อ่านให้ลูกฟัง เมื่อเด็ก ๆ คุณแม่ชอบพาไปวัดพระแก้ว ไปดูระเบียงเรื่องรามเกียรติ์ เรื่องที่คุณแม่เล่ามีทุกชาติ คุณแม่ชอบเรื่องแปลก ๆ ชอบแฟนตาซีและนิยายวิทยาศาสตร์ เรื่องอย่าง Lord of the Rings หรือสามก๊ก หรือมหาภารตะ คุณแม่ก็เล่าให้ฟังเมื่อเด็ก ๆ ทั้งนั้น ที่จริงรู้สึกว่าคุณแม่จะประสบความสำเร็จมาก เพราะไป ๆ มา ๆ น้องชายก็เขียนหนังสือเหมือนกัน

งานเขียนมาทั้งหมดกี่เล่มแล้วคะ อะไรบ้าง
แฟนตาซี
- มาโอ ภาค ๑-๒
- เซรีญา (สามเล่มจบ) + อันเซลมา (ตอนพิเศษของเซรีญา)
- ไมรอน
- Dragon Delivery (ปัจจุบันมี ๔ เล่ม)


นิยายวิทยาศาสตร์
-ฯพณฯแห่งกาลเวลา
-เดอะสตอรี่เทลเลอร์

อื่น ๆ
- นิทานรางวัลมูลนิธิเด็กสองเรื่อง คือ “ภาษาหัวใจ” และ “กรรไกรสีแดงกับกระดาษสีขาว”
- ปวงเทพผู้นิราศ ปกรณัมเคลติก-ติวตันนิก เล่าเรื่องตำนานเทพเจ้าของฝรั่งโบราณ

การเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชนมีความยากง่ายอย่างไรและต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
ตั้งแต่แรกมา ไม่เคยคิดว่าตัวเองเขียนวรรณกรรมเยาวชน และไม่เคยนึกมาก่อนเลยว่าคนอ่านจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก เพียงแต่เขียนสิ่งที่ตัวเองอยากเขียนและอยากอ่าน แต่หาอ่านที่ไหนไม่ได้ ต่อมาภายหลังเมื่อมีคนพูดว่าตัวเองเขียนวรรณกรรมเยาวชนมาก ๆ เข้า จึงได้มาพยายามทำความเข้าใจว่าเพราะอะไร และเข้าใจว่าเป็นเพรา

1.เนื่องจากเรื่องแฟนตาซีเป็นเรื่องมหัศจรรย์คล้ายนิทาน คนที่ไม่ได้ติดตามอ่านแฟนตาซีอย่างใกล้ชิดจึงนำไปปะปนกับนิทาน และเข้าใจว่าเป็นเรื่องสำหรับเด็กอ่าน
2.ตัวเองชอบเขียนเรื่องที่ตัวเอกอยู่ในสถานการณ์ที่จะต้องทำความเข้าใจ

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ