สัมมนาอบรมให้ความรู้ครูภาษาไทย : ‘ทางเลือกใหม่ในการสอนภาษาไทยอย่างไรให้สนุก’ ตอนจบ

สัมมนาอบรมให้ความรู้ครูภาษาไทย

วิทยากรกล่าวคำกลอนตัวอย่าง
“ที่ท่านเชิญเราขึ้นทรงราชเถลิงอาสน์สุโขทัย สโมสร เราจะประสาทการนคร ให้ประชาชนนิกรสุขสราญ ซึ่งท่านให้อิสริยยศเรามิหาพจน์มาตอบท่าน ขอแต่ให้เสนา พฤฒาจารย์ สมัครสมานสามัคคี คณะใดศัตรูผู้ฉลาด หมายมาดทำลายให้เร็วรี่ ก็ยุแยกให้แตกสามัคคี เช่นกษัตริย์ฤทธิ์ชวีวงษ์โบราณ พราหมณ์ผู้เดียวรับใช้ไปยุแหย่ สาระแนยุญาติให้แตกฉาน ถึงเวลาศัตรูจู่มาราน ก็เกี่ยงกัน เสียการเสียนคร ฉะนั้นไท้ขอไทยจงร่วมรัก จงร่วมสมัครสโมสร เราจะประสาทการนคร ให้ประชาชนนิกรสุขสราญ” “ซึ่งท่านให้อิสริยยศเรามิอาจหาพจน์มาตอบท่าน ขอให้เสนา พฤฒาจารย์ สมัครสมานสามัคคี” แล้วก็ว่าไป “ไทยรวมกำลังตั้งมั่น” จำเพลงนี้ได้ไหมค่ะ นำด้วยเพลงนี้ก็ได้

วิทยากรร้องเพลงเป็นตัวอย่าง
“ไทยร่วมกำลังตั้งมั่น จะสามารถร่วมกันขันแข็ง ถึงแม้ว่าศัตรูผู้มีแรง มายุแยงก็จะปราสไป ขอแต่เพียงไทยเราอย่าผลาญญาติ สันชาติ รวมชาติ ร่วมจิต เป็นคอใหญ่ไทยอย่ามุ่งร้ายทำร้ายไทย จงพร้อมใจพร้อมกำลังระวังเมือง ไทยทาดา...... ”

อันนี้จึงจะเป็นไปตามพระราชประสงค์ตอนนี้เขาตัดตอนที่พระร่วงหนีไป นึกถึงลูกศิษย์ที่ฝึกสอน “เอย เอ๋ย บัดนี้” เพลงเขมรปากท่อ ร้องไปแล้วมันตกท่อทุกที ลูกศิษย์เรานั่งทำแผนการสอน ตอนตีหนึ่งโทรศัพท์มาถาม “อาจารย์คะขึ้นเพลงเขมรปากท่อให้หนูฟัง พรุ่งนี้หนูจะสอน” อาจารย์ผู้ชายถาม “นี่ลูกศิษย์เธอหรือ” เอย เอ๋ย บัดเอย นี้ละเมอหรือ ไม่ใช่ลูกศิษย์มันโทรมาถาม ลูกศิษย์อะไรไม่รู้มันไม่รู้จักเขมรปากท่อ ก็มันยังไม่นอนมันยังทำอยู่พรุ่งนี้มันจะสอน บางที่ก็ฉันท์ บางที่ก็กาพย์ ถ้าอาจารย์จะนำด้วยเพลงไทยมันยาก เพราะว่าเพลงไทยเอาฟ้อนรำด้วยนะ “เมื่อ เอย เอ๋ย เอย เอย เอย เอ๋ย เอยเมื่อนั้นเอย พระเอ๋ยเอย” ไหวไหมคะ อย่าเอา เอาที่มันง่ายๆ “เอย เอ๋ย เอยบัดนั้น นายมั่นปืนยาว ชาวป่า” ร้องร่ายอย่างนี้เด็กก็ร้องไปก็สนุกสนาน อย่าไปเอาเขมรตกท่อ เราต้องรู้จักเลือก เปิดให้เขาฟังบ้างก็ได้ น้ำแก้วหนึ่งถ้าเราให้เขาได้ฟังเพลงไทย รู้จักไว้บ้างมันดีแต่ถ้าไม่มีอะไรเลย รู้แต่วัฒนธรรมตะวันตก ได้แต่เต้นอะไรกระหย๋องกระแหย๋ง ที่เป็นไทยไม่มีแล้ว

ใครเคยอ่านเรื่องของลาว คำหอม เรื่อง ‘คนพันธ์’ คือเขาเขียนประชดประชันว่าอะไรๆ ก็ต้องของฝรั่งหมด วัวก็ต้องพันธุ์จากฝรั่ง อะไรก็ต้องฝรั่งหมด พอกลับมาตาก็คุยเรื่อยเลยว่าไก่เรานี้ถ้าเป็นพันธุ์ฝรั่งต่อไปตัวจะเท่าอีแร้งเลย ยายก็หลับตานึกถึงอีแร้งมันเดินเต็มใต้ถุนมันจะทำยังไง ยายก็บอกว่า “ต่อไปเราจะไม่เห็นไก่หวาย ไก่อู้ ไก่ตะเภา ไก่พื้นบ้านต่อไปอีกแล้ว ก็จะเห็นแต่ไก่ตัวเท่าอีแร้งเต็มใต้ถุนบ้าน” คนอ่านก็ไม่เข้าใจที่จริงต่อไปเราจะไม่ได้เห็นอะไรที่เป็นไทยๆ อีกแล้ว ถ้าไอ้ยายนั่นของลาว คำหอมไปแถว ‘เซ็นเตอร์พอยท์’ ฟังอะไรๆ ที่เป็นของไทยๆ ก็ไม่รู้เรื่อง เฉพาะนั้นอาจารย์ให้ไว้นิดหน่อย คุรุสภาเขามีเทปอะไรต่ออะไรเทปเพลงไทยเดิมที่มันเกี่ยวกับการสอนมีคำประพันธ์อะไรต่างๆ ก็มาเปิดให้ฟังบ้าง

นำเข้าสู่บทเรียนด้วยเกี่ยวกับเรื่องความสามัคคีก็ได้ จากคำประพันธ์พระร่วงก็ได้ จากพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 6 ก็ได้ เสร็จแล้วก็อ่านเรื่องราวกันไป อาจจะมีการแสดงละคร แสดงบทบาทสมมุติโดยให้เด็กแต่งเอง แบ่งเป็นกลุ่ม แล้วก็มีแสดงละครประกอบ แล้วดึงให้เขาเข้ามาสู่ปัจจุบันว่า บ้านเมืองเรามีความสมัครสมานสามัคคีกันอยู่หรือนักเรียนคิดอย่างไร ทำอย่างไรถึงทำให้คนไทยเรามีความสมัครสมานสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราสอนภาษาไทยเราจะได้อะไรหลายๆ อย่าง อาจจะมีการเอาบทในนั้นเองมาเจรจากัน บทในเรื่องพระร่วงซึ่งท่านก็มีอยู่แล้วมาเจรจากัน แต่ที่สำคัญคงจะไปให้ตรงประเด็นว่า เราทำอย่างไรคนไทยเราจึงจะมีความสมัครสมานสามัคคีกัน รัชกาลที่ 6 ท่านทำไว้เยอะ พวกเสือป่า ก็คือลูกเสือชาวบ้านท่านก็ทำไว้ ดุสิตธานีจำลอง ท่านก็ทำ เรื่องเทศบาล ท่านก็ทำมา ต่างๆ ก็อยากให้อาจารย์สอนให้เป็น มันถึงจะสัมพันธ์กันจริงๆ มีทั้งศิลปะ มีทั้งวัฒนธรรม มีทั้งสังคมศึกษา มีคุณธรรมอะไรต่างๆ ที่สำคัญคือเราสอนภาษาไทยต้องก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงกับผู้เรียน ไม่ใช่ประโยชน์แค่วรรณกรรมเท่านั้น แต่เป็นประโยชน์ที่ทำให้เขามีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีทัศนะเกี่ยวกับชีวิตที่กว้างไกล

หลักภาษาเมื่อกี้พูดถึงเพลงดอกไม้ที่ในรูหู เพลงแม่กง แม่กม แม่กน ถ้าสอนเสียงหนักๆ แม่กกจะทำอย่างไร เราก็อาจจะนำเข้าสู่บทเรียน

วิทยากรร้องเพลงเป็นตัวอย่าง
“เสียงนกโพระดก มันร้องโฮกปก โฮกปกอยู่หนไหนเอย เอย เอย พระพุทธเจ้าค่ะ” หรือว่าในชั้นประถมเขาก็ทำกันพวก “ขึ้นกกเอย เอ๋ย ตก เอย เอ๋ย ทุกข์ยาก เอย เอ๋ย แสนลำบาก เอย เอ๋ย จากเวียงชัย เอย เอ๋ย มันเผือก เอย เอ๋ย เลือก เอย เอ๋ย เผาไฟ เอย เอ๋ย กิน เอย เอ๋ย ผลไม้ เอย เอ๋ย ได้ เอย เป็นแรง เอย เอ๋ย” และไม่ใช่ร้องปล่อยเราจะมีแถบประโยค เราจะมีขึ้นให้ดูแล้วลองหาดูว่าคำที่สะกดด้วยตัว ‘ก’ ขึ้นกก ตก ทุกข์ ยาก ลำบาก จาก เด็กเขาจะเห็นตัวอย่างเยอะอะไรที่สะกดแม่ตรงตัวอะไรที่ไม่ตรงตัว ก็สอนไปเราก็พยายามให้มันสนุกสนานแล้วก็พยายามให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง นักเรียนลองยกตัวอย่างให้ดูซิ ว่ามีอะไรบ้าง แล้วการให้เด็กยกตัวอย่าง ควรจะเลือกทางนี้บ้าง ทางโน้นบ้าง เอาให้ทั่ว ไม่อย่างนั้นมันจะมีเด็กเก่งยกมือ ครูก็เพื่อความสะดวกก็เรียกแต่ไอ้เด็กคนนั้น การที่เด็กตอบคำถามการที่ครูจะปลูกฝัง ครูภาษาไทยกับการปลูกฝังประชาธิปไตย ครูภาษาไทยกับการปลูกฝังวัฒนธรรมไทย การใช้ภาษาอย่างมีวัฒนธรรม ให้เขายกมือแล้วเราชี้เป็นคนๆ ให้กระจายไป เป็นการปลูกฝังให้นักเรียนมีความกล้าที่จะตอบคำถาม แต่ครูจะถือเอาความสะดวก

ขณะเดียวกันที่สอนเด็กก็ต้องให้เด็กเห็นว่า การรับสัมผัสเป็นอย่างไรไม่ถูกต้องอย่างไร ถ้ากลอนลิเกนั้นพอได้ พอลิเกนั้นขึ้นไปอาจจะเห็นคนเยอะแล้วตกใจ “ต่างองค์พระทรงศรี พระภูบดีพระราชา”( ตัวอย่างกลอนลิเก ) จะได้ไหมคะ จะได้บอกว่า ฉันเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เพราะนึกอะไรไม่ออก หรือไม่ก็ “ได้ยินเสียงแจ้วๆ” มันคิดไม่ออก มันตกใจ คือตัวแสดงจะตกใจเพราะ หนึ่ง มีคนดูน้อย มีคนสองสามคน หรือมีคนเยอะไปหมดเลย ร้องไม่ออกอย่างนั้นเราไม่ว่ากัน เพราะพวกเพลงพื้นบ้านนี่จะรับสัมผัสอะไรก็ได้ แต่ถ้าเราแต่ง ถ้าเราแต่งไม่เก่งก็ควรจะมีเพื่อนครูที่เขามีความสามารถช่วยดูว่าเป็นอย่างไร และก็อย่าเอาหลักฐานมาให้เราดูด้วย ส่งมาค่าแก้กลอน 800 มีใบเสร็จเรียบร้อย ส่งมาให้กรรมการเขาดู ฉันจ้างเขาแต่ง หรือฉันแต่งแล้วให้พี่เขาแก้ กัลยาณมิตรเดียวนี้ก็น่าดูนะ ค่าแก้กลอนเท่านั้นนะแพง ค่าอะไรต่อค่าอะไรก็ไม่รู้ รวมแล้วเป็นหมื่น กัลยาณมิตรเดียวนี้ ควรจะเป็นกัลยาณมิตรจริงๆ ถึงจะดี ที่จริงถ้าไม่จำเป็นที่ว่าจะต้องแต่งเป็นคำประพันธ์ แต่งเป็นความเรียงร้อยแก้วก็ได้ แต่ขอให้เนื้อหามีความสมบูรณ์ อย่าใช้ภาษาพูด เป็นภาษาเขียน ตัวสะกดต้องให้ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่เก่งอย่าแต่ง เอาตามที่เราเป็นจริงๆ รวมทั้งคำประพันธ์ที่เราจะยกให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง เราตรวจซะก่อน ถ้าตัวสะกดผิด บางทีเราต้องขอโทษ เพราะคนที่เขาพิมพ์ให้เขาสะกดไม่ถูก ยังมีอีกตั้งหลายเรื่อง เช่น แม่ชีทุคโต แม่ชีทุคโตคือใคร แม่ชีทุคโตมีเยอะแยะที่จะนำเข้าสู่บทเรียนได้เรื่องจริงๆ ที่เกิดขึ้นก็มีมากมายว่าถ้าทำความทุกข์ไว้กับใครนั้น เดี๋ยวนี้กรรมติดจรวด เห็นผลชาตินี้ไม่ต้องรอไปถึงชาติหน้า ชาตินี้เอง

บ้านดิฉันเป็นบ้านสวนฝั่งธนฯ นี่ ดิฉันเกิดระหว่างวัดท่าพระ วัดเจ้ามูล วัดดีดวด ระหว่างสามวัดนี่เป็นสวน คนเขาชอบเอาไฟฟ้ามาเสียบที่หม้อไฟเรา แล้วไปช็อตปลา แล้วปรากฏว่าสายมันหลุด แล้วเอามือไปแตะ ติดเลยวางอยู่บนนี้เลย นอนสบายมาก หรือไม่งั้น ตะแกรงช้อนมันก็ไปติดกิ่งไม้ เลยลืมตัวกระโดดลงไปแกะ เลยชักดิ้นพราดๆ

มีอยู่เรื่องหนึ่ง คือ มีเด็กคนหนึ่งชอบเอาอึ่งอ่างมาแล้วเอาเข็มหมุดมาเสียบที่ตัวอึ่งอ่างทำให้มันเป็นเม่น เลือดโซมตัว ใครห้ามก็ไม่เชื่อ วันหนึ่งเด็กคนนี้ไปโรงเรียน ในขณะที่กำลังยืนรอรถเมล์อยู่ปรากฏว่ากันสาดถล่มลงมา เชื่อไหมคะว่า เหล็กเสียบที่ตัวของเด็กหลายชิ้นเลย แล้วไอ้พวกที่ชอบปีนรั้วเก็บผลไม้หรืฮปีนรั้วบ้านชาวบ้านเขาก็โดนเสียบมาเยอะแยะแล้ว เราก็ยกตัวอย่างสถานการณ์จริงๆ พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์มีเยอะแยะเลย เมื่อเร็วๆ นี้ มียามที่ออกเรื่องจริงผ่านจอ มี เรื่องอะไรจึงเอาไม้ไปไล่ทุบตีคนอื่นเขาตายไปตั้ง เจ็ดแปดคน ทำร้ายเขาไปตั้งสิบกว่าคน บาดเจ็บสาหัส ในที่สุดตัวเองก็หนีไม่พ้น ดีนะที่มีคนมาตี ดีนะ ที่จำไม่ได้ก็มีคนมาตีหัวมันตายเหมือนกัน เช่นเดียวกันกับในเรื่องนี้เราก็นำเอาเรื่องจริงๆ แล้วถ้าหาไม่ได้ก็มีหนังสือของหลวงพ่อจรัญ เยอะมาก ใครเคยอ่านบ้างคะ หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ที่จริงทุกคนควรจะได้อ่าน แล้วท่านก็มีเรื่องราวมากมายที่แสดงให้เห็นว่ากรรมมันตามสนองมีเยอะแยะ แล้วจึงจะมาอ่านเรื่องแม่ชีทุคโตว่าเป็นอย่างไร ยังมีเพลงซึ่งไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้เขายังร้องกันอยู่หรือเปล่า ดิฉันเคยเป็นกรรมการยุวพุทธิกะสมาคม เราเคยไปอบรมเรื่องการสอนศีลธรรม ไม่ทราบว่าทุกท่านจะเคยได้ยินหรือเปล่านะคะ

“คนเราทุกคนว่ายวนผลกรรมนำเนื่อง ตกต่ำรุ่งเรืองก็เนื่องแต่กรรมของตน” เพลงนี้นะคะ ลองให้เด็กมาร้องกัน แล้วลองอ่านดูว่าเรื่องราวมันเป็นอย่างไร นักเรียนเคยมีเคยรู้เรื่องอะไรที่มันเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว เด็กเขาจะมีเรื่องเล่าเยอะแยะเลย นะคะ หมดเวลา แล้วค่ะ งั้นก็ต้องจบแล้วนะคะ ถือว่า เมื่อขับเสภาเมื่อกี้นั้น สรุปแล้ว วันไหนโชคดีเราคงได้เจอกันอีกนะคะ

วิทยากร : อ. ประกาศิต วาดเขียน
สวัสดีเพื่อนครูสายเลือดครูสอนภาษาไทยด้วยกันนะครับ ทั้งพี่ๆ และน้องๆ ได้ฟังของท่านศาสตราจาย์สุจริต เพียรชอบ ไปแล้วนะครับ ผมก็ไม่กล้านำเสนออะไรอีกเลยครับ เนื่องจากว่านอกจากจะครอบคลุมทุกกระบวนการขั้นตอนแล้ว ผมจึงไม่กล้าเทียบท่านอาจารย์ เอาเป็นว่าวันนี้ไม่ถือว่าเป็นการอบรม แต่ผมมาเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ว่าสอนโรงเรียนนานาชาติ แล้วจำเป็นจะต้องสอนภาษาไทยเราต้องทำอย่างไรเพื่อให้ทั้งเด็กไทยและเด็กต่างชาติจะมีความเข้าใจในภาษาไทย ก่อนอื่นต้องขอบอกเล่าถึงธรรมชาติในโรงเรียนก่อนนะครับว่า เราจะแบ่งเด็กตามระดับเหมือนโรงเรียนของทุกท่าน ป. 1 ป.2 ป.3 ก็แยกระดับไป แล้วก็มีการแยกระดับอีกคือ แยกเด็กไทย กับเด็กต่างชาติเลย เพราะว่าเด็กไทยเราก็จะเรียนตามหลักสูตรกระทรวง แต่ว่าเราไม่ได้ตามทุกหัวข้อ เพราะว่าเวลาเราจะไม่พอ เราจึงเลือกหัวข้อสำคัญและจำเป็นที่เด็กน่าจะรู้และใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรือบางเรื่องก็จะเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งกำลังจะมาถึง เช่น วันสำคัญ เราก็จะนำมาสอนก่อน เพราะฉะนั้นเราจึงไม่เรียนตามหัวข้อในหนังสือหรือว่าใดๆ ก็ตาม

ส่วนเด็กต่างชาติเราก็จะสอนเพื่อให้เขาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศเราได้ ที่เขาเรียกว่า surviverthai ก็คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ฟัง พูด เสียก่อน สำหรับเด็กต่างชาติ ให้พูดได้ แต่จะมีปัญหา ถ้าเด็กต่างชาตินี่ปัญหาหลักก็คือ “ฉันจะเรียนไปทำไมภาษาไทย คนไทยที่ประเทศไทยพูดภาษาอังกฤษกับฉันไม่ได้หรือ” โอ้โห เหมือนถูกตบหน้า เวลาเด็กถามอย่างนี้ “ไม่เห็นจะอยากเรียนเลย พ่อแม่ฉันก็เป็นฝรั่ง” ก็เลยบอกว่า “คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้ทุกคนนั่นแหละ อยู่ที่ว่ายูจะฟังรู้เรื่องหรือเปล่า” เราก็ชักจะโมโห แหมดูถูก เพราะส่วนมากพอชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยแล้ว เรียงตัวกันมาตั้งแต่แท็กซี่รู้เรื่องมั่งไม่รู้เรื่องมั่ง เขาก็มักจะถามว่าคนไทยพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เหรอ ฉันไปไหนฉันก็เห็นแต่ป้ายภาษาอังกฤษหมดฉันไม่หลงทางหรอก

เราก็บอก “เหรอ แล้วถ้ายูไปเที่ยวขอนแก่น ไปบึงแก่นนคร แล้วยูจะกลับบ้านถูกไหม” มันถามว่า “แล้วไอ้แก่นนครคืออะไร” เราก็บอกว่า “เห็นไหม แค่นี้ยูก็ไม่รู้แล้ว เอาง่ายๆ แค่ยูไปตลาดข้างโรงเรียน แล้วยูไปขอซื้อข้าวสักจาน ยูคิดว่าคนในตลาดจะพูดภาษาอังกฤษได้ดีเท่าเอ็มโพเรี่ยมไหม” เขาก็โอเค เรียนก็ได้ กลัวอดข้าว

เดี๋ยวนี้ที่โรงเรียนโชร์วเบอร์รี่เราใช้หนังสือเรียนของสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น นี่คือ สาเหตุที่ทำไมเขาเชิญผมมา อันนี้พูดเล่น คือเราใช้ของเขามาประมาณ 3 ปี แล้ว ยังไม่เปลี่ยน ปกติเราจะเปลี่ยนหนังสือทุกปี เพราะเราคิดว่าหนังสือของเขาเหมาะสำหรับระดับความรู้ของเด็กที่โรงเรียนของเรา พูดถึงเด็กนักเรียนไทยก็จะเหมาะ วันนี้ผมจะมายกตัวอย่างให้ดูนะครับว่า สมมุติว่าเราจะสอนอะไรสักเรื่อง เราจะเอาความรู้ ความสนุกสนานยังไงเข้ามาใช้ในบทเรียน บังเอิญว่าปีนี้ผมได้สอนนักเรียนชั้น year 7 ก็คือ ป. 6 ก็มีหนึ่งเรื่องที่พึ่งสอนไปสดๆร้อนๆ ก่อนหน้าลอยกระทง พอดีมีหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ‘หุ่นไล่กา’ ตอนนี้ต้องขอรบกวนอาจารย์ทุกท่านกลับไปเป็นเด็ก ป. 6 บางคนอาจย้อนไปไม่เท่าไหร่ บางคนอาจต้องนั่งลดนานหน่อยกว่าจะไปถึง ป. 6 ได้

สมมุติว่าทุกคนเป็นนักเรียนชั้น ป. 6 เอาล่ะครับ นักเรียน เอ้ย! อาจารย์ ผมมีใบงานให้ทั้งเซตเลยนะครับ วันนี้เราก็จะมาคุยกันถึงเรื่องหุ่นไล่กา ถ้ามีเพลงฟังเด็กๆ จะชอบมาก ถ้าพูดถึงเด็ก ป. 6 หรือ year 7 ของผมนี่นะครับ ถ้าเป็นที่โรงเรียนเขาจะถือว่าเป็นซีเนียร์แล้ว เป็นซีเนียร์ปีแรก พอดีว่าระบบของอังกฤษจะสับสนเรื่องระดับชั้นนิดหน่อย ก็คือ ป. 6 ของเราจะเป็นเด็กมัธยมของเขาไปแล้ว เป็นมัธยมปีแรก เขาก็เลยคิดว่า เขาเป็นวัยรุ่นแล้วเขาก็เลยต้องการมีเพลง

( วิทยากรก็เปิดเพลงหุ่นไล่กาประกอบการอบรมโดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมเติมคำในช่องว่าง)
วิธีการนี้นักเรียนจะชอบมากที่ยกตัวอย่างมาให้ อันที่หนึ่งได้ฟังเพลง อันที่สองได้เขียน ใช้ได้กับทุกเพลงถ้าเข้ากับบทเรียน เพลงจะวัยรุ่นแค่ไหนเราก็ทำช่องเว้นว่างให้เติมได้ อย่าไปคำนึงว่าเด็กจะรู้มากกว่าเรา บางทีบางคนพอเปิดมาโอ้โหเพลงนี้บอดี้สแลม เพลงอกหัก เติมเลยครับ ลงมือเติมจนจบยังไม่ทันได้เปิดเลย เพราะฉะนั้นเราก็อย่าไปสนใจเขา เราก็สนแต่คนที่ยังทำไม่ได้ หรือว่าถ้าได้แล้วให้ออกมาร้องให้เพื่อนฟังเลยก็ได้เขาก็จะออกมากัน หลังจากนั้นก็มีการซ้อมเพลงกันคลอไปกับเทปอีกเพลงพวกนี้หาได้จากไหน

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ