หนังสือแนะนำโดย Hillary Clinton : อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐ

หนังสือแนะนำโดย Hillary Clinton

 

      ฮิลลารี ไดแอน ร็อดแดม คลินตัน (Hillary Diane Rodham Clinton)  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 67 ในรัฐบาลประธานาธิบดีบารัก โอบามา อดีตสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐนิวยอร์กในระหว่างปี ค.ศ. 2001 - 2009 และ อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 ฮิลลารีเป็นภริยาบิล คลินตัน ประธานาธิบดีคนที่ 42 แห่งสหรัฐอเมริกา เธอจึงเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี ค.ศ. 1993 - 2001 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008 เธอเคยลงสมัครเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตชิงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วย แต่พ่ายแพ้ให้บารัก โอบามา ในครั้งนั้น ต่อมาในปี ค.ศ. 2016 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2016 เธอได้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต และช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกับดอนัลด์ ทรัมป์ นักธุรกิจจากรัฐนิวยอร์ก นับเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นตัวแทนพรรคการเมืองหลักในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 

      นอกจากเธอจะเป็นนักเขียน และมีหนังสือที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเธอหลายเล่มแล้ว เธอยังเป็นนักอ่านตัวยงอีกด้วย

 

 

 

“The Brothers Karamasov” เขียนโดย Dostoevsky

      วรรณกรรมคลาสสิคของรัสเซียนั้นมีลักษณะโดดเด่นอยู่อย่างหนึ่ง คือ นักประพันธ์เอกแต่ละฅนล้วนแต่เป็นต้นสกุลของแนวเขียนที่ตนเองถนัด และถึงแม้ว่าผลงานของพวกเขาจะได้กลายมาเป็นแม่บททางวรรณคดีสำหรับฅนรุ่นต่อๆ มา แต่ก็เป็นการยากยิ่งที่จะเดินตามรอยอักษรของท่านเหล่านั้นได้อย่างถึงที่สุด ฟีโอโดร์ ดอสโตเยฟสกี เป็นนักประพันธ์รัสเซียอีกฅนหนึ่งที่ถ่ายทอดระบบคิดของตนออกมาในรูปของวรรณคดี เป็นระบบคิดที่สลับซับซ้อนมาก พอๆ กับเส้นทางชีวิตของเขา

 

 

 

“After the Music Stopped” เขียนโดย Alan S. Blinder 

       หลังฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาปะทุเมื่อกลางปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) เกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่นั่น ซึ่งเชื่อมโยงกันกับยุโรปและลุกลามไปเกือบทั่วโลก นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่ามันเป็นวิกฤตที่ร้ายแรงรองลงมาจากวิกฤตครั้งใหญ่ที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) เมื่อตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาล่ม บางคนเรียกวิกฤตครั้งหลังนี้ว่า The Great Recession ไม่นานหลังเกิดวิกฤต ทั้งนักเศรษฐศาสตร์และผู้อยู่ในวงการสื่อออกมาอธิบายจากมุมมองต่าง ๆ มีหนังสือเล่มหนึ่งที่พิมพ์ออกมาเมื่อต้นปีนี้ ซึ่งมีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากยกย่องว่าครอบคลุมหลายแง่มุมและวิเคราะห์ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ผู้เขียนหนังสือชื่อ อลัน บลินเดอร์ ซึ่งเป็นศาสตราจารย์อยู่ในมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและเคยเป็นรองประธานคณะกรรมการธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา หนังสือของเขาชื่อ After the Music Stopped : The Financial Crisis, the Response, and the Work Ahead ในบรรดาผู้เห็นด้วยนี้ มีศาสตราจารย์เดอลองเห็นพ้องกับนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำหลายคนว่า ถึงเวลาที่จะต้องยกเครื่องวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักครั้งใหญ่เนื่องจากนโยบายจากตำราที่เรียนกันมานั้นใช้ไม่ค่อยได้ผลแล้ว อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้มิได้จำกัดอยู่ที่วิชาเศรษฐศาสตร์เท่านั้น หากยังเกี่ยวเนื่องไปถึงสภาพทางการเมืองและสังคมอีกด้วย ทั้งหลายนี้ยังมีการบ่งชี้ว่า ปัญหาสลับซับซ้อนเกินกว่าที่วิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเพียงอย่างเดียวจะแก้ได้ คอลัมน์นี้จึงย้ำเสมอว่า ปัญหาจะยืดเยื้อต่อไปอีกนาน ฉะนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรในช่วงนี้ควรตระหนักเรื่องความเสี่ยงให้มากเป็นพิเศษ

 

 

 

“The Color Purple” เขียนโดย Alice Walker 

     เป็นหนึ่งในงานเขียนที่เล่าถึงความเจ็บปวดและความรู้สึกของทาส การเป็นทาสก็ว่าแย่แล้ว แถมยังเป็นผู้หญิงอีก หนังสือเล่มนี้เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเล่มที่ส่งอิทธิพลต่อผู้คนอย่างกว้างขวาง เสียงเล่าเรื่องถือเป็นวิธีสำคัญที่ Walker ถ่ายทอดการเป็นผู้ถูกกระทำ ความไร้เดียงสา และความเป็นมนุษย์ได้อย่างนุ่มนวลและสัมผัสหัวใจ นอกจากหนังสือแล้วฉบับหนังก็ดีเยี่ยมไม่แพ้กัน เราอาจรู้จักสตีเวน สปีลเบิร์กในฐานะเจ้าพ่อหนังอลังการ แต่ The Color Purple ถือเป็นหนึ่งในหนังดราม่าที่สปีลเบิร์กกำกับแล้วทรงพลังไม่แพ้ฉบับหนังสือ

 

 

 

“Little Women” เขียนโดย Louisa May Alcott 

     “สาวน้อย” เป็นบทประพันธ์ของลุยซา เมย์ อัลคอตต์ (ค.ศ. 1832-1888) ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1868 โดยอัลคอตต์ใช้ประสบการณ์ในวัยเยาว์ของตนและน้องสาวเป็นแรงบันดาลใจ “สี่ดรุณี” เป็นเรื่องสะท้อนให้เห็นภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของชาวอเมริกันเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว เป็นเรื่องราวของสาวน้อยทั้งสี่ในครอบครัวเล็ก ๆ แสนอบอุ่น พ่อเป็นอนุศาสนาจารย์ที่ต้องเดินทางไปกับกองทัพ แม่ต้องออกไปทำงาน ทุกคนต้องเผชิญกับความลำบากแต่ก็มีชีวิตแสนสุข เพราะมีศีลธรรมประจำใจอย่างที่พ่อแม่เพียรสอนสั่งอยู่เสมอ ผู้อ่านจะได้ร่วมทุกข์ สุข เศร้า และจนถึงวัยที่สาว ๆ มีความรัก ไม่ว่าเวลาจะล่วงผ่านไปนานเท่าไร “สาวน้อย” ก็ยังคงประทับใจผู้อ่านตราบนานเท่านาน

 

 

 

“The Clan of the Cave Bear” เขียนโดย Jean M. Auel 

      เป็นนวนิยายที่เล่าความเป็นมาของบรรพบุรุษของมนุษย์อย่างสมบูรณ์ ในชีวิตประจำวัน ข้าวของเครื่องใช้ การรู้จักไฟ การทำเครื่องนุ่งห่ม และอีกจิปาถะที่สอดแทรกผ่าน "เอล่ะ" เด็กสาวตัวเอกของเรื่อง

     ใน “ตำนานมนุษย์ถ้ำ” คุณรับรู้ความเป็นไปของบรรพบุรุษของมนุษย์อย่างสมบูรณ์แบบด้วยความเร้าใจชวนติดตาม
     นี่คือนิยายอิงข้อมูลที่ค้นคว้ามาเป็นอย่างดีของ ฌอง.เอ็ม.อวล. และได้รับความนิยมอย่างสูง สถาบันหลายแห่งบรรจุให้เป็นหนังสืออ้างอิงนอกเหนือจากการอ่านเพื่อความ บันเทิงซึ่งเป็นจุดประสงค์หลัก

 

 

 

“Wild Swans: Three Daughters of China” เขียนโดย Jung Chang 

       นี่คือนวนิยายที่ผสมผสานความทรงจำและภาพกว้างของประวัติศาตร์ซึ่งผู้เขียนเป็นประจักษ์พยาน คือ ฉากชีวิตของผู้หญิงจีนสามรุ่นในศตวรรษที่ยี่สิบ คือ บทบันทึกอิทธิพลมหาศาลที่เหมาเจ๋อตุงมีต่อจีน คือ ประสบการณ์อันน่าจดจำของผู้หญิงในช่วงรอยต่อสู่โลกยุคใหม่ คือ เรื่องราวความรักและความกล้าหาญอันเปี่ยมแรงบัลดาลใจ

      ทุกรายละเอียดของโศกนาฏกรรมไม่รู้จบที่เฝ้าแวะเวียนมาสู่ครอบครัวของผู้เขียนและชาวจีนอีกหลายล้านคน ที่ติดอยู่ในพายุร้ายแห่งประวัติศาสตร์ ถ่ายทอดผ่านตัวอักษรที่สะเทือนอารมณ์ สั่นคลอนหัวใจ และจุดไฟแห่งความหวังให้ทุกชีวิต

      ฮิลลารี คลินตัน กล่าวว่า "นวนิยายเปี่ยมแรงบันดาลใจของผู้หญิงที่ฝ่าฟันอุปสรรค ความสูญเสีย และการเมืองอันพลิกผัน โดยไม่เคยสูญสิ้นจิตวิญญาณมนุษย์"

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ