ช้อปหนังสือช่วยชาติ : ซื้อหนังสือสามารถลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลได้

ช้อปหนังสือช่วยชาติ

 

Q&A ลดหย่อนค่ำซื้อหนังสือ

 

       1. หนังสืออยู่นอกระบบ VAT จะออกบิลได้หรือไม่

คำตอบ

  1. การขายหนังสือได้รับยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากรอย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการสามารถแจ้งต่อกรมสรรพากรเพื่อขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น การขายหนังสือจึงมีผู้ประกอบการ 2ประเภท ได้แก่ ผู้ประกอบการที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. ผู้ประกอบการข้างต้น สามารถออกหลกัฐานการรับเงินใหแก่ผู้ซื้อหนังสือ ดังนี้

             1) ผู้ประกอบการที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถออกหลักฐานการรับเงินค่าซื้อหนังสือ เป็ นใบเสร็จรับเงินได้ โดยต้องมีรายการตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร

             2) ผู้ประกอบการที่อยู่ในนระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องออกหลักฐานการรับเงินค่าซื้ออหนังสือเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป โดยต้องมีรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร

 

         2. หนังสือเสียง Audio Book สามารถลดหย่อนได้หรือไม่

คำตอบ

               1.  หนังสือที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้แก่ หนังสือรวมถึงหนังสือที่อยู่ในรูปแบบของขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต แต่ไม่รวมถึงนิตยสารและหนังสือพิมพ์

               2. กรณีการขายหนังสือเรียน พร้อมเทปคำบรรยายหรือวิดีโอเทป โดยเทปคำบรรยายหรือวิดีโอเทปเป็น เรื่องที่มีเนื้อหาเดียวกับหนังสือ และได้ขายในราคารวมโดยมิได้แบ่งแยกราคา สามารถนำไปหักลดหย่อนได้

              3. กรณี Audio Book ที่ติดมากบั หนังสือน้ัน ผู้มีเงินได้สามารถนำค่าซื้อหนังสือไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้ อย่างไรก็ดีกรณี Audio Book ที่ไม่ติดมากับหนังสือผู้ซื้อไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษี (ตามแนวทางคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 32/2538)

 

          3. หนังสือต่างประเทศสามารถนำมาลดหย่อนได้หรือไม่

คำตอบ

                 ผู้มีเงินได้สามารถนำไปหักลดหย่อนได้โดยต้องมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษี แบบเต็มรูป

 

          4. ทำไมหนังสือพิมพ์ และนิตยสารจึงไม่อยู่ในรายการลดหย่อน

คำตอบ

                การกำหนดรายการลดหย่อนค่าซื้อหนังสือ แต่ไม่รวมถึงนิตยสารและหนังสือพิมพ์กรมสรรพากร พิจารณาตามกรอบข้อเสนอของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

 

          5. ระยะเวลาของโครงการที่ถูกต้อง เริ่มและหมดเขต คือช่วงเวลาใด

คำตอบ

                 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  4 ธันวาคม 2561 ได้เห็นชอบให้ประชาชนสามารถนำค่าซื้อหนังสือในระหว่าง วันที่ 15 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 16 มกราคม 2562 ไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้

 

        6. วงเงิน 15,000 บาท ใช้ข้ามปี ได้ลดหย่อนอย่างไร

คำตอบ

                 กรณีผู้มีเงินได้จ่ายค่าซื้อหนังสือในช่วงระยะเวลาข้างต้นทั้ง 2 ปีภาษีจะได้รับลดหย่อนภาษีตามจำานวนที่จ่ายจริง ในแต่ละปีภาษีและรวมกัน 2 ปีภาษีแล้วต้องไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                  1. ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่ออกในช่วงระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ให้ผู้มีเงินได้นำไปลดหย่อนภาษีในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี ภาษี 2561

                  2. ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่ออกในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 16 มกราคม 2562 ให้ผู้มีเงินได้นำไปลดหย่อนภาษีในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปีภาษี 2562 ทั้งนี้การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีค่าซื้อหนังสือดังกล่าวรวมกัน 2 ปีภาษีแล้วต้องไม่เกิน 15,000 บาท

 

         7. ร้านหนังสือที่เป็น หสม. หจก. ไม่ใช่แบบบริษัท สามารถออกบิลลดหย่อนได้หรือไม่

คำตอบ

               มาตรการนี้กำหนดสิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับค่าซื้อหนังสือจากผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็น บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่านั้นกรณีการออกใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีโดยผู้ประกอบการ ที่จดทะเบียนจัดตั้งรูปแบบอื่น จึงไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษี

 

         8. ใบเสร็จที่ออกต้องระบุรายละเอียดของผู้ซื้ออะไรบ้าง

คำตอบ

                 ผู้ประกอบการขายหนังสือสามารถออกหลักฐานการรับเงินให้แก่ผู้ซื้อหนังสือ ดังนี้

                 1. ผู้ประกอบการที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่สามารถออกหลักฐานการรับเงินค่าซื้อหนังสือ เป็นใบกำกับภาษีต้องออกเป็นใบเสร็จรับเงินตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความระบุ ชื่อ นามสกุล ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการโดยต้องมีรายการอย่างน้อย ดังนี้

                  (1) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ

                  (2) เลขลำดับของเล่มและของใบรับ

                  (3) วัน เดือน ปี ที่ออกใบรับ

                  (4) จำนวนเงินที่รับ

                  (5) ชนิด ชื่อ จำนวน และราคาสินค้า

 

                2. ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องออกหลักฐานการรับเงินค่าซื้อหนังสือเป็นในกำกับภาษี แบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรโดยต้องมีรายการอย่างน้อย ดังนี้

                  (1) คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

                  (2) ชื่อ ที่อยู่และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี

                  (3) ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

                  (4) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีและหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

                  (5) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

                  (6) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการโดยให้แยกออกจากมูลค่าของ สินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง

                  (7) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

                  (8) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด เช่น คำว่าเอกสารออกเป็นชุดสำเนาใบกำกับภาษี ฯลฯ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องระบุค่าซื้อหนังสือเป็นรายการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถศึกษารายละเอียดของใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/38061.0.html

 

        9.  นิติบุคคล (เช่น บริษัท สมาคม) สามารถซื้อหนังสือเอาไปลดหย่อนได้หรือไม่

คำตอบ

                มาตรการนี้เป็นการกำหนดสิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อหนังสือที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น ไม่รวมถึง ผู้ซื้อที่เป็นนิติบุคคลอย่างไรก็ดีนิติบุคคลสามารถนำค่าซื้อหนังสือไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลได้ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ประมวลรัษฎากรกำหนด

 

        10.  ขาย E-BOOK จะออกใบเสร็จอย่างไร เพราะไม่ได้ทำโปรแกรมรองรับ

คำตอบ

            1. ผู้ประกอบการที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถออกหลักฐานการรับเงินเป็นใบเสร็จรับเงิน โดยต้อง มีรายการตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร

            2. ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มต้องออกหลักฐานการรับเงินเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป โดยต้องมีรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรแล้วแต่กรณี

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ