A.A.Miline : ชายผู้เขียน Winnie the Pooh

A.A.Miline

 

        ประมาณเดือนสิงหาคม ในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 Harry Colebourn สัตวแพทย์ชาวคานาดา ทำงานประจำที่ Fort Garry Horse ใน Winnipeg ได้ถูกส่งตัวไปประจำการที่อังกฤษ ขณะเดินทางไปอังกฤษ ขบวนรถไฟที่เขานั่งไปต้องหยุดจอดที่ White River ใน Ontario เพื่อเปลี่ยนขบวนใหม่ ระหว่างนั้นเขาได้เห็นชายคนหนึ่งกับลูกหมีสีดำ ณ บริเวณชานชาลาของสถานีรถไฟ โดยที่ลูกหมีตัวนั้นถูกผูกกับที่เท้าแขนของเก้าอี้ที่ชายคนนั้นนั่งอยู่ หลังจากที่ Harry Colebourn พูดคุยกับชายคนนั้นทำให้เขารู้ว่า ชายคนนั้นเป็นนักล่าสัตว์ เขาจึงขอซื้อลูกหมีตัวนั้นในราคา 20 เหรียญสหรัฐ และตั้งชื่อให้มันว่า Winnie เขาได้นำ Winnie ไปอยู่กับเขาที่กองทัพด้วย ซึ่งทุกคนในกองทัพก็ถือว่า Winnie เป็นสัตว์นำโชค

 

        ต่อมาเดือนธันวาคม ในปีเดียวกัน กองทัพที่ Harry Colebourn ประจำการอยู่ ต้องย้ายกำลังพลไปที่ประเทศฝรั่งเศส Harry Colebourn ได้ฝาก Winnieไว้ที่สวนสัตว์ที่กรุงลอนดอน และเขาคาดการณ์ว่าประมาณ 2 สัปดาห์เขาคงจะเสร็จภารกิจ และกลับมารับ Winnie ได้ แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นดังที่เขาคิดไว้ สงครามสงบประมาณปี ค.ศ. 1918 Harry Colebourn กลับมาที่สวนสัตว์อีกครั้งเพื่อมารับWinnie แต่เขาพบว่า Winnie อยู่อย่างมีความสุข ณ สวนสัตว์แห่งนี้ ทั้งคนเลี้ยงและคนที่มาเที่ยวในสวนสัตว์ รักมันมาก เขาจึงตัดสินใจปล่อยให้Winnie อยู่ที่สวนสัตว์ตามเดิม และมาเยี่ยม Winnieเสมอเมื่อมีโอกาส จนกระทั่ง Winnie เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ปี ค.ศ.1934 ส่วน Harry Colebourn ได้กลับมาประจำการอยู่ที่ทำงานเก่าของเขา Fort Garry Horse ตั้งแต่ปี ค.ศ.1921 โดยทำหน้าที่เป็นสัตวแพทย์ ประจำกองทัพ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1947

 

 

          ในช่วงที่ Winnie ยังมีชีวิตอยู่ในสวนสัตว์ Winnie มีชื่อเสียงมาก อยู่มาวันหนึ่งประมาณปี ค.ศ. 1925 Christoper Robin เด็กชายวัย 5 ขวบได้มาเที่ยวเล่นในสวนสัตว์แห่งนี้ ทันทีที่ Christopher Robin พบกับ Winnie เขาก็เกิดความรักและประทับใจใน Winnie มาก จนถึงกับเปลี่ยนชื่อตุ๊กตาหมีที่ได้จากเพื่อนของพ่อของเขาจาก Edward มาเป็นชื่อ Winnie และความรักของ Christoper Robin ใน Winnie นี่เองที่ไปจุดประกายความคิดของ A.A. Milne (Alan Alexander Milne) พ่อของ Christopher Robin ซึ่งเป็นนักเขียนหนังสือและบทกลอน ให้แต่งนิทานเรื่องเกี่ยวกับ Winnie และเพื่อนขึ้นมา โดยชื่อของหมีในนิทานของเขามีชื่อว่ า“Winnie-the-Pooh” โดยคำว่า Winnie มาจากตุ๊กตาหมีของลูกชายของเขาและหมี Winnie ในสวนสัตว์นั่นเอง ส่วนคำว่า Pooh มาจากชื่อของหงส์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณฟาร์มของเขา (Cotchford Farm อยู่ในบริเวณป่า Ashdown ที่ Sussex ประเทศ England)

 

          นิทานของเขาจะเล่าถึงการผจญภัยของ Christopher Robin กับ Winnie รวมทั้งสัตว์ที่เป็นเพื่อนของเขาในป่า โดยที่ลักษณะนิสัย ของตัวละครสัตว์ตัวอื่นๆ เช่น Eeyore, Piglet, Tigger, Kanga และ Roo มาจากเหล่าตุ๊กตาสัตว์ของ Christoper Robin ลูกชายของเขา ส่วนลักษณะนิสัยของตัวละครสัตว์ Rabbit และ Owl มาจากสัตว์ที่อาศัยในบริเวณฟาร์ม และภาพประกอบของนิทานทั้งหมด เขียนโดย E. H. Shepard.  ปัจจุบันตุ๊กตาของ Christopher Robin ถูกเก็บรักษาไว้ที่ Donnell Library Center ซึ่งเป็นห้องสมุดสาขาหนึ่งของ New York Public Library

 

         หมีพูห์ หรือ วินนี-เดอะ-พูห์ (Winnie-the-Pooh) เป็นตัวละครหมีที่สร้างขึ้นโดย เอ. เอ. มิลน์ และตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 14 ตุลาคมค.ศ. 1926 ในหนังสือเรื่อง วินนี-เดอะ-พูห์ และ เดอะเฮาส์แอตพูห์คอร์เนอร์ (1928) เนื้อเรื่องในหนังสือมีลักษณะคล้ายกับ ป่าแอชดาวน์ ในเมือง อีสต์ซัซเซก ในประเทศอังกฤษ โดยชื่อ วินนี มาจากชื่อตุ๊กตาหมีของทหารชาวแคนาดานายหนึ่ง ซึ่งตั้งตามชื่อเมือง วินนีเพก ในประเทศแคนาดา นอกจากหมีพูห์แล้วเพื่อนในป่าที่ได้รับความนิยมได้แก่ พิกเลต ทิกเกอร์ และ อียอร์

 

 

         ในตอนแรก เกือบไม่มีรูปวาดหมีพูห์สุดน่ารัก เพราะอีโก้ของ เอ. เอ. มิลน์

อี. วี. ลูคัส คือเพื่อนร่วมวิทยาลัยของ เอ. เอ. มิลน์ ผู้เขียน และ อี. เอช. เชปเพิร์ด นักวาดภาพประกอบคู่บุญของมิลน์ ก่อนหน้าจะมาร่วมมือกัน ลูคัสเคยแนะนำเชปเพิร์ดให้มาร่วมงานกับมิลน์  เพราะเชื่อว่าเชปเพิร์ดสามารถสร้างสรรค์โลกแฟนตาซีของสัตว์น้อยเหล่านั้นได้อย่างอัศจรรย์แน่ๆ  แต่มิลน์กลับปฏิเสธเชปเพิร์ดเพราะไม่ค่อยชอบใจนักหากจะมีนักวาดการ์ตูนล้อการเมืองมาร่วมงาน แต่เชปเพิร์ดก็ยังไม่ยอมแพ้ง่ายๆ  เขาตัดสินใจเดินลุยป่าแอชดาวน์  แล้วกลับมาวาดเป็นภาพสเก็ตช์ นำไปส่งถึงมือของมิลน์ หลังจากนั้นเจ้าหมีอ้วนลายเส้นอ่อนโยนจึงถือกำเนิดขึ้น

 

          ต่อมา วอลต์ดิสนีย์ ได้นำวินนี-เดอะ-พูห์ มาจัดทำและได้เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น Winnie the Pooh (โดยไม่มีเครื่องหมายขีด) และหมีพูห์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของดิสนีย์ 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ