บี.กริม ฉลองวาระครบรอบ 140 ปี  เปิดตัวนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ : ฝากไว้ในแผ่นดิน วรรณกรรมจากเรื่องจริง 6 แผ่นดิน

บี.กริม ฉลองวาระครบรอบ 140 ปี  เปิดตัวนวนิยายอิงประวัติศาสตร์

บี.กริม ฉลองวาระครบรอบ 140 ปี  เปิดตัวนวนิยายอิงประวัติศาสตร์

“ฝากไว้ในแผ่นดิน” -- วรรณกรรมจากเรื่องจริง 6 แผ่นดิน

รายได้ไม่หักค่าใช้จ่าย สนับสนุนโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย แห่งประเทศไทย

ในมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 

*************

 

           บี.กริม ฉลองวาระครบ 140 ปี ในปีนี้ ในฐานะห้างเยอรมันที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มจากพ่อค้าชาวออสเตรียและเภสัชกร บี.กริม ชาวเยอรมัน ผู้เข้ามาเปิดร้านขายยาสยาม ดิสเปนซารี บนถนนเจริญกรุง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา จนได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นร้านยาหลวง และขยายสาขาเป็นห้าง บี.กริม จำหน่ายสินค้าหลากหลาย และรับใช้ประเทศไทยมายาวนานถึง 6 รัชสมัย ปัจจุบันมี ดร. ฮาราลด์ ลิงค์  ทายาทรุ่นที่ 4  เป็นประธานบริษัท

           เพื่อร่วมฉลองวาระสำคัญนี้  ดร. ฮาราลด์ ลิงค์  ประธาน บี.กริม  ได้จัดแถลงข่าว เปิดตัว “ฝากไว้ในแผ่นดิน (In the Kingdom)” นวนิยายอิงประวัติศาสตร์  ผลงานวรรณกรรมจากเรื่องจริง 6 แผ่นดิน ที่บี.กริม ได้มอบหมายให้ คุณยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง นักเขียนมือรางวัล “แว่นแก้ว”  เรียบเรียงขึ้นจากบันทึกของครอบครัวลิงค์  และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งในประเทศไทยและประเทศเยอรมัน โดยให้นานมีบุคส์ เป็นผู้พิมพ์และจัดจำหน่าย งานเปิดตัวครั้งนี้ จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 14 มีนาคม 2561 ณ ห้องรีเจนซี โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ

 

            ในงานเปิดตัวดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมงาน อาทิ รศ.ดร.ตรีศิลป์  บุญขจร นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, คุณกนกวลี พจนปกรณ์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ , คุณสุวดี จงสถิตย์วัฒนา , คุณคิม จงสถิตย์วัฒนา และคุณนันทินี แทนเนอร์ เป็นต้น   

            “ฝากไว้ในแผ่นดิน” เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าถึง ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และการค้า ผ่านตัวอักษรที่อ่านสนุก เพลิดเพลิน และได้ความรู้ โดยเฉพาะ ประวัติการขุดคลองรังสิตของห้างบี.กริม ซึ่งเป็นโครงการชลประทานที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียอาคเนย์ในสมัยรัชกาลที่ 5

            ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม ได้เปิดเผย ถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้มีหนังสือเล่มนี้ว่า  “เมื่อ 10 ปี ก่อน ผมมีโอกาสได้ตามเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปงานบุ๊คแฟร์ ที่แฟรงเฟิรต์ ตอนนั้น คุณสุวดี จงสถิตย์วัฒนา ประธานบริษัท นานมี บุ๊คส์ ซึ่งเป็นผู้พิมพ์หนังสือเล่มนี้ ได้แนะนำผมว่า ทำไมผมไม่เขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติของ บี.กริม โดยให้เรื่องราวเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทย ออกมาในแนวนวนิยายเชิงประวัติศาสตร์  คุณสุวดีได้แนะนำนักเขียนมือรางวัล คือ คุณ ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง ให้ผมรู้จัก เราใช้เวลาพูดคุยและศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน  จนผมมั่นใจว่าคุณยุวดี คือ นักเขียนที่จะผูกร้อยเรื่องราวของบี.กริมให้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยในรูปแบบนวนิยายที่อ่านสนุกและน่าสนใจได้ และคุณยุวดีก็ให้เกียรติรับเขียนเรื่องนี้ให้เรา”

 

ฝากไว้ในแผ่นดิน

 

            “หัวใจของการเขียนหนังสือเล่มนี้ คือ การสืบค้นและรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่จริงในรูปแบบของภาพถ่าย สิ่งพิมพ์ และเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ  ทั้งจากห้องเก็บเอกสารประวัติของบี.กริม  หอจดหมายเหตุ และห้องสมุดต่าง ๆ  ข้อมูลอีกส่วนได้มาจากคำบอกเล่าของสมาชิกในหลาย ๆ ครอบครัวที่เคยหรือยังเกี่ยวข้องกับบี.กริม ทั้งในประเทศไทยและประเทศ เยอรมัน  คุณยุวดีใช้วลารวบรวมและศึกษาข้อมูลมากมายเหล่านี้ แบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่ผิดพลาด”  ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าว

            “วันนี้ “ฝากไว้ในแผ่นดิน” ได้จัดพิมพ์เรียบร้อยแล้ว ผมขอถือโอกาสเปิดตัวหนังสือสำคัญเล่มนี้ เพื่อร่วมฉลองในโอกาสที่ บี.กริม ครบรอบ 140 ปี ในการดำเนินกิจการภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารในเมืองไทย  ได้มีโอกาสรับใช้ประเทศไทยมาถึง 6  รัชสมัย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณจากราชวงศ์ไทยที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ และยืนยงจนถึงปัจจุบันนี้   และผมหวังว่าเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านทุกท่านจะได้เพลินเพลินและได้ความรู้ทางประวัติศาสคร์จากการอ่านหนังสือเล่มนี้”  ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวปิดท้าย

 

บีกริม

ฝากไว้ในแผ่นดิน

 

             คุณยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง ผู้เขียน ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ดิฉันรู้สึกภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้เขียนหนังสือเล่มนี้  ซึ่งได้ใช้เวลาศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมอย่างยาวนานจริง ๆ  คุณฮาราลด์ ลิงค์ ย้ำอยู่เสมอว่าให้เขียนให้สนุก เขียนแบบให้คนอยากอ่าน ไม่ใช่เขียนเหมือน Annual Report ที่เขียนเสร็จแล้วไม่มีใครอยากอ่าน ต้องวางไว้บนชั้นให้ฝุ่นจับ  และต้องให้ความรู้ประวัติศาสตร์อื่นๆ แก่ผู้อ่านด้วย ไม่ใช่แค่ได้รู้เรื่องของ บี.กริม อย่างเดียว

              “ตอนแรกคุยกันว่าใช้เวลา 2 ปี เขียนให้จบ แต่เป็นไปไม่ได้ เพราะข้อมูลสำคัญของครอบครัวและห้างบี.กริม ในรูปของบันทึกมากมายได้สูญหายไปหมด ด้วยเหตุสงครามใหญ่สองครั้ง ดิฉันจึงต้องเริ่มจากศูนย์  ข้อมูลทางไทยได้จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ส่วนทางเยอรมันก็ต้องใช้เวลาในการแปล โชคดีที่คุณลิงค์ย้ำเสมอว่า เวลาไม่ใช่เรื่องใหญ่ ท่านกำชับตลอดว่าเอาให้ดี เขียนให้สนุก ให้คนอยากอ่าน สุดท้ายลากมาจน 5 ปี ตอนนั้น บี.กริม ครบรอบ 135 ปี ก็ว่าจะจบแล้ว แต่ก็มีคำถามกันอีกว่า  เอ๊ะมันใช่หรือเปล่า ยังไม่แน่ใจ ก็เลยลากมาจนถึงปีนี้  เขียนบรรทัดสุดท้ายเสร็จเมื่อเดือนมกราคม 2561  บี.กริม ครบ 140 ปีพอดี  ถือโอกาสเป็นหนังสือฉลองครอบรอบ 140 ปี บี.กริม พอดีค่ะ  ถ้าจะถามว่าหนังสือเล่มนี้ เหมือนวรรณกรรมเล่มไหน ขอบอกว่า คงไม่เหมือนเรื่องไหนนะคะ” แล้วคนเขียนก็กระซิบทิ้งท้ายว่า “อยากรู้ต้องไปหามาอ่านค่ะ”  

 

ฝากไว้ในแผ่นดิน

ฝากไว้ในแผ่นดิน

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ